วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สรรพคุณของถั่วแดง

23 Sep 2014

ภรรยากับลูกขอให้ประกอบอาหารจัดปิ่นโตให้หน่อย เธอจะไปทำบุญ
ก็นั่งวิปัสสนาอยู่สักพัก และพบว่าวันนี้พระแย่แน่ เพราะสาธุชนล้นวัดและอาหารก็ดี ๆ ทั้งนั้นในความเข้าใจของเราๆท่านๆ ผมเลยขอจัดสารอาหารที่ไปแก้ไขให้แต่ก็ไม่ทราบว่าท่านจะได้ฉันหรือเปล่านะครับ
เมนู น้ำพริกมะขามสด ไข่ลูกเขยถั่วแดง และผัก แค่นี้ครับ หวานอย่าเชียวครับ ถ้าท่านมีระบบย่อยไม่ดีแล้วฉันของหวานเยอะ หมักในลำไส้สัก 4 ชั่วโมง ก็เท่ากับว่าโยมถวายเหล้าประมาณ 1 เป๊คครับ บาปซะเปล่าๆ
และเมื่อมีน้ำมันในการผัด ผมก็ส่งไฟเบอร์ในมะเขือลงไปซับมันไว้ในลำไส้เพื่อให้มันเข้าสู่เส้นเลือดให้น้อยที่สุดครับ
งั้นมาดูว่าทำไมถึงเป็นเมนูนี้กันครับ
ถั่วแดงนั้นมีคุณค่าทางอาหารเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์เลยทีเดียวครับ แถมยังไม่ส่งผลเสียต่อภาพอีกด้วย การรับประถั่วแดงนอกจากจะให้พลังงานแก่ร่างกายที่สูงแล้ว ยังทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน
สรรพคุณของถั่วแดง
ถั่วแดง สรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองปริแตกได้
ช่วยขับพิษในร่างกาย
ในถั่วยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่สามารถละลายน้ำได้ จึงช่วยในขบวนการทำความสะอาดของร่างกายได้ตามธรรมชาติ นอกจากจะช่วยทำความสะอาดลำไส้แล้ว ยังช่วยการสะสมของสารพิษในลำไส้ได้อีกด้วย
ช่วยบำรุงลำไส้
ช่วยในการขับถ่าย
ช่วยในการย่อยอาหาร
ป้องกันอาการท้องผูก และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่[4]
ช่วยบรรเทาอาการจุกเสียดแน่นท้อง
ช่วยขับปัสสาวะ
ช่วยบำบัดอาการประจำเดือนผิดปกติของสตรี
ช่วยลดอาการบวมน้ำ
ช่วยกำจัดหนอง
ช่วยลดอาการผื่นคันตามผิวหนัง
ถั่วแดงหลวง สรรพคุณช่วยป้องกันและลดอาการเหน็บชา
ช่วยบรรเทาอาการปวดบวม หรือปวดตามข้อต่อ
ช่วยบำรุงช่องคลอด รักษามดลูก สำหรับสตรีที่มักมีอาการปวดช่วงท้องน้อย ซึ่งอาจเกิดจากการมีเลือดคั่ง หรือมีความเย็นสะสมอยู่รอบๆ สะดือ รังไข่และมดลูก ให้คุณนำถั่วแดงครึ่งกิโล ใส่ลงในถุงผ้าแล้วมัดปากถุงด้วยเชือกปอ แล้วนำไปอบในไมโครเวฟประมาณ 3-4 นาที (ใช้ไฟปานกลาง) แล้วให้นำถุงถั่วแดงมาประคบบริเวณท้องน้อยเพื่อช่วยบรรเทาอาการเลือดคั่ง บรรเทาอาการอักเสบ และลดบวมได้ (แต่ก่อนจะนำมาประคบให้ใช้มือลูกไล้เบาๆ ที่ผิวหนังซึ่งตรงกับรังไข่แล้วค่อยประคบ)
ถั่วแดงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และช่วยป้องกันโรคร้ายต่างๆ ได้
ถั่วแดงเป็นแหล่งอาหารที่ดีของธาตุเหล็ก ที่ช่วยบำรุงโลหิต
ช่วยปรับสภาพเลือดในร่างกาย และธาตุเหล็กยังช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง สมองไม่ค่อยดี คิดอะไรไม่ค่อยออกได้ ฯลฯ
การรับประทานถั่วแดงเป็นประจำ จะช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงหัวใจประเภทมีอาการใจสั่น และช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี
ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง เนื่องจากถั่วแดงอุดมไปด้วยวิตามินบีหลายชนิด ถั่วแดงเป็นถั่วที่มีแคลเซียมสูง การรับประทานเป็นประจำสามารถช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกเสื่อม ป้องกันโรคกระดูกพรุน และแคลเซียมยังมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ
ช่วยรักษาและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอาการดีขึ้น ถั่วแดงอุดมไปด้วยแมกนีเซียม ที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ช่วยในการผลิตโปรตีน ฯลฯ
ถั่วแดงลดน้ำหนัก ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล เนื่องจากถั่วแดงมีโปรตีนสูงแต่มีไขมันอิ่มตัวต่ำมาก ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถของระบบเผาผลาญในร่างกาย มีผลทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการได้รับโปรตีนจากถั่วแดงร่วมกับถั่วชนิดอื่นๆ เป็นประจำแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์นอกจากจะช่วยลดน้ำหนักตัวแล้วยังช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ดีในระยะยาว (ศาสตราจารย์ Mark Brick จาก Colorado State University)
ช่วยควบคุมน้ำหนัก เพราะถั่วแดงมีเส้นใยอาหารสูง จึงช่วยดูดซับน้ำและพองตัวได้ดี และมีคุณสมบัติที่ช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอล ทำให้ระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารช้าลง ทำให้รู้สึกอิ่มได้นาน จึงช่วยลดการกินจุบจิบได้ดี ซึ่งแตกต่างจากเนื้อสัตว์ที่ไม่มีเส้นใยอาหาร เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจึงไม่อิ่มท้องเท่ากับการรับประทานถั่วแดง ส่งผลทำให้น้ำหนักตัวโดยรวมลดลง
ในถั่วเมล็ดรูปไต ซึ่งรวมถึงถั่วแดง จะมีสารลิกแนน สารชาโปนิน และสารยับยั้งโปรติเอส ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ถั่วนอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีนแล้ว ยังเป็นแหล่งของสารอาหารต่างๆ มากมาย รวมไปถึงโฟเลต แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์สำหรับหญิงตั้งครรภ์แทบทั้งสิ้น เพราะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคระบบประสาทของทารก ป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการคลอดบุตรก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ หรือทารกมีไอคิวลดลง ฯลฯ
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วแดง ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 337 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 61.29 กรัม
น้ำ 11.75 กรัม
น้ำตาล 2.1 กรัม
เส้นใย 15.2 กรัม
ไขมัน 1.06 กรัม
โปรตีน 22.53 กรัม
วิตามินบี1 0.608 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.215 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 2.11 มิลลิกรัม
วิตามินบี6 0.397 มิลลิกรัม
วิตามินบี9 394 ไมโครกรัม
วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม
วิตามินอี 0.21 มิลลิกรัม
วิตามินเค 5.6 ไมโครกรัม
ธาตุแคลเซียม 83 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 6.69 มิลลิกรัม
ธาตุแมกนีเซียม 138 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 406 มิลลิกรัม
ธาตุโพแทสเซียม 1,359 มิลลิกรัม
ธาตุโซเดียม 12 มิลลิกรัม
ธาตุสังกะสี 2.79 มิลลิกรัม % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
คำแนะนำในการรับประทานถั่วแดง
ถั่วแดงมีสารพิวรีน (Purine) ระดับปานกลาง ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด เพราะสารดังกล่าวอาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการของข้ออักเสบกำเริบขึ้นได้
สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรระวังในการรับประทานถั่วแดง เพราะถั่วแดงเป็นอาหารที่โปรตีนและฟอสฟอรัสสูง ซึ่งจะไม่ส่งผลดีกับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
การรับประทานถั่วให้รับประทานสลับกันไปนะครับ และหวังว่าท่านคงจะเริ่มหันมาประกอบอาหารแบบผมกันบ้าง อย่างน้อยที่สุดงบประมาณของประเทศด้านสาธารณะสุขอาจลดลงได้บ้างครับ ก่อนลาก็ขอให้ทุกท่านสุขภาพดีถ้วนหน้าครับ
วิธีต้มถั่วแดง
ให้นิ่มน่ารับประทาน ขั้นตอนแรกให้ล้างเมล็ดถั่วให้สะอาด หลังจากนั้นนำมาแช่ในน้ำร้อนหรือน้ำเย็นพอท่วม ทิ้งไว้ประมาณ 6-18 ชั่วโมง แล้วนำมาต้มพร้อมกับน้ำที่แช่เมล็ด (เพราะการนำมาแช่น้ำจะทำให้สารอาหารละลายออกมาในน้ำ เราจึงใช้น้ำที่แช่ถั่วมาประกอบอาหารด้วยนั่นเอง) แล้วเยื่อหุ้มเมล็ดของถั่วแดงจะนิ่ม และสุกง่ายขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น