เก๊าท์ ตอนที่ 1 (หมอนอกกะลา)
โรคนี้ ทานยาไปเรื่อยๆ ไม่หาย แต่ไตพังแน่นอนแถมเนื้อตัวปูดต้องผาตัดกันไม่หยุดหย่อน
เหตุผลนะหรือครับ ก็รักษาที่ปลายเหตุอีกเช่นเคยครับ ทั้งที่ไม่เกิน 7 เดือนก็หายแม้ผู้ที่เป็นมายาวนานครับ
วันนี้ “หมอนอกกะลา”ขอแทรกโรคนี้ก่อนที่จะไปเรื่องอ้วนนะครับ เห็นว่าเป็นกันเยอะ ทานยาเป็นเข่ง ๆ แล้วก็ไม่รู้จักกับคำว่าหายกันสักที น่าสงสารมากครับ
โรคเก๊าท์จัดเป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุดในมนุษย์ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในขบวนการเมตะบอลิสซึ่มของกรดยูริกในร่างกาย เป็นผลให้กรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติ เกิดการตกตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรต (monosodium urate) สะสมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะข้อและไต
โรคเก๊าท์จะหมายถึงภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อทำให้เกิดการอักเสบมีอาการปวด บวมแดงร้อน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์"อาจจะมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้ และผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเก๊าท์เสมอไป "โรคเก๊าท์เป็นในผู้ชายมากว่าผู้หญิง 9 เท่าและมักเป็นวัยกลางคนขึ้นไป ส่วนผู้หญิงมักเป็นหลังจากหมดประจำเดือนครับ
มาดูสาเหตุของโรคเก๊าท์ครับว่ามันมาอย่างไรและทำไมจึงมีกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปรกติ ซึ่งสาเหตุที่กรดยูริกสูงได้แก่
1 ภาวะที่มีการสร้างกรดยูริกสูง
กรดยูริกในเลือดที่สูงในมนุษย์เป็นผลมาจากการที่ขาดยีนในการสลายกรดยูริกแล้ว ยังพบว่ากรดยูริกในร่างกายมนุษย์จะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ
1. จากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนและได้สารพิวรินออกมา ซึ่งกรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดจากกระบวนการนี้
2. จากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง
2 การขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง
กรดยูริกที่สร้างขึ้นจะมีการขับออกจากร่างกาย 2 ทางหลัก คือ
1. ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร และ ซึ่งการขับออกทางระบบทางเดินอาหารจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน
2. ขับออกทางไต ส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 เป็นการขับออกทางไต
จากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ จะพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 มีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต ย้ำนะครับ ไต กล่าวคือ ที่ความเข้มข้นของระดับกรดยูริกในเลือดเท่ากัน คนที่เป็นโรคเก๊าท์จะมีการขับกรดยูริกออกทางไตได้น้อยกว่าคนปกติที่ไม่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงถึงร้อยละ 40 แสดงว่า ความผิดปกติหลักในผู้ป่วยโรคเก๊าท์อยู่ที่ความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต ย้ำอีกครับ ไต
ก็รู้ทั้งรู้ครับ สาเหตุ แต่ทำไมเขาไม่รักษาที่สาเหตุกันผมก็ไม่เข้าใจเจตนาเขาหรอกครับ แล้วมาดูวิธีการรักษาของการแพทย์ปัจจุบันซึ่งแตกต่างกับของผมอย่างสิ้นเชิงครับ
อันนี้ของแพทย์แผนปัจจุบันนะครับ
• ในช่วงที่มีอาการปวดอาจจะรับประทานยาแก้ปวด paracetamol หรือยาแก้ปวดอื่น
• ช่วงที่มีการอักเสบของข้อให้ใช้ยา colchicine 0.5 mg ทุก 2 ชั่วโมงจนอาการปวดดีขึ้นหรือเกิดอาเจียน และถ่ายเหลว และอาจให้ยาแก้ปวดเช่น aspirin,indomethacin,ibuprofen,naproxyn,piroxicam ยากลุ่มนี้มีข้อเสียคือปวดท้องและเลือดออกทางเดินอาหารได้
• ช่วงที่ปวดให้พักและดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันการตกตะกอนของกรดยูริก
• ให้นอนพัก ยกเท้าสูง
• หลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดิน
• ช่วงที่มีการอักเสบของข้อให้ใช้ยา colchicine 0.5 mg ทุก 2 ชั่วโมงจนอาการปวดดีขึ้นหรือเกิดอาเจียน และถ่ายเหลว และอาจให้ยาแก้ปวดเช่น aspirin,indomethacin,ibuprofen,naproxyn,piroxicam ยากลุ่มนี้มีข้อเสียคือปวดท้องและเลือดออกทางเดินอาหารได้
• ช่วงที่ปวดให้พักและดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันการตกตะกอนของกรดยูริก
• ให้นอนพัก ยกเท้าสูง
• หลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดิน
การป้องกันข้ออักเสบ
• ให้ colchicine 0.6 mg วันละ 1-4 เม็ด ถ้าเริ่มมีอาการของข้ออักเสบให้เพิ่มได้อีก วันละ 1-2 เม็ด
• ให้ยาลดกรด uric ในกรณีที่กรด uric >9 mg%และยังมีการอักเสบของข้อหรือไตเริ่มมีอาการเสื่อม เช่น probenecid 500 mg ให้ครึ่งเม็ดวันละ2 ครั้งค่อยๆเพิ่มเนื่องจากยานี้จะเพิ่มการขับกรดยูริกทางปัสสาวะ ดังนั้นไม่ควรให้ในผู้ป่วยที่มีนิ่วในไต และควรแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ และหรือ allopurinol 200-600 mg/วัน ยานี้ควรระวังในผู้ป่วยที่ไตเสื่อม เนื่องจากอาจจะเกิดอาการผื่นและแพ้ยาได้ ยากลุ่มนี้ไม่ควรให้ขณะที่มีการอักเสบของข้อเพราะจะทำให้ข้ออักเสบเพิ่มขึ้น
• ให้ดื่มน้ำมากกว่า 3 ลิตร/วัน
• ให้ยาลดกรด uric ในกรณีที่กรด uric >9 mg%และยังมีการอักเสบของข้อหรือไตเริ่มมีอาการเสื่อม เช่น probenecid 500 mg ให้ครึ่งเม็ดวันละ2 ครั้งค่อยๆเพิ่มเนื่องจากยานี้จะเพิ่มการขับกรดยูริกทางปัสสาวะ ดังนั้นไม่ควรให้ในผู้ป่วยที่มีนิ่วในไต และควรแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ และหรือ allopurinol 200-600 mg/วัน ยานี้ควรระวังในผู้ป่วยที่ไตเสื่อม เนื่องจากอาจจะเกิดอาการผื่นและแพ้ยาได้ ยากลุ่มนี้ไม่ควรให้ขณะที่มีการอักเสบของข้อเพราะจะทำให้ข้ออักเสบเพิ่มขึ้น
• ให้ดื่มน้ำมากกว่า 3 ลิตร/วัน
แล้วมาดูสิ่งเหล่านี้ครับ
ข้อบ่งชี้ในการให้ยาลดกรดยูริก
• เป็นโรคเก๊าท์เรื้อรัง และมี tophi
• ผู้ป่วยมีการอักเสบของข้อหลายครั้ง
• ผู้ป่วยกรดยูริกสูง และมีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดไตเสื่อมเช่นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีกรดยูริกสูง
การให้ยากลุ่มนี้ควรจะให้เมื่ออาการปวด และอักเสบหายแล้วเนื่องจากการให้ยากลุ่มนี้จะทำให้ข้ออักเสบเพิ่มขึ้นยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Allopurinol Probenecid
• ผู้ป่วยมีการอักเสบของข้อหลายครั้ง
• ผู้ป่วยกรดยูริกสูง และมีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดไตเสื่อมเช่นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีกรดยูริกสูง
การให้ยากลุ่มนี้ควรจะให้เมื่ออาการปวด และอักเสบหายแล้วเนื่องจากการให้ยากลุ่มนี้จะทำให้ข้ออักเสบเพิ่มขึ้นยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Allopurinol Probenecid
ผลข้างเคียงของยา
สามารถพบผลข้างเคียงของยา อาการที่พบได้คือ ผื่นตามตัว เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ท้องร่วง ปวดศีรษะ ต้อกระจก ต้องระวังการให้ยานี้จะทำให้เกิดข้ออักเสบได้อาจจะต้องให้ยา NSAID และ Colchicine หากมีอาการแพ้ยาต้องรีบแจ้งแพทย์เนื่องจากอาการแพ้อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ เอาละ่ครับ เจอหมอมือใหม่เข้าล่ะก็ คุณจะเอาผิดที่ใคร คุณเองก็ไม่รู้เรื่องยา
Probenecid ยานี้จะเร่งการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะข้อบ่งชี้ในการใช้ยานี้คือ
• ใช้ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี
• หน้าที่ของไตปกติ ย้ำครับ ไตปกติ
• ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว
• กรดยูริกถูกขับออกน้อยกว่า 700-800มิลิกรัมต่อวัน
Probenecid ยานี้จะเร่งการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะข้อบ่งชี้ในการใช้ยานี้คือ
• ใช้ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี
• หน้าที่ของไตปกติ ย้ำครับ ไตปกติ
• ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว
• กรดยูริกถูกขับออกน้อยกว่า 700-800มิลิกรัมต่อวัน
การให้ยานี้ต้องให้ขนาดต่ำแล้วค่อยๆเพิ่มโดยมากให้วันละ 2 ครั้งขนาดที่ให้ 250 มิลิกรัมวันละ 2 ครั้ง 2-3 สัปดาห์แล้วเพิ่มเป็น 500 มิลิกรัมวันละ 2 ครั้ง แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ 8-12 แก้ว
ผลข้างเคียงอาจจะทำให้เกิดผื่น คลื่นไส้อาเจียน ภาวะโลหิตจาง นิ่วในไต
เห็นมั๊ยครับ ว่าทำไมผมถึงกล่าวว่าไตพัง ท่านอ่านสาเหตุแล้วท่านว่าควรรักษาที่ตรงจุดใดครับ ลองถามลูกหลานที่เรียน ป.4 ก็พอครับ ผมว่าเขาตอบได้ตรงจุดแน่ๆ ผมจะมาขยายในตอนต่อไปนะครับ พอดีฝ่ายรายการบอกว่าเวลาหมดต้องตัดเข้าโฆษณา ก่อนลาก็ขอให้ทุกท่านสุขภาพดีกันถ้วนหน้านะครับ สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น