เก๊าท์ ตอนที่ 2 (หมอนอกกะลา)
“คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้ สารอาหารที่เหมาะสม/ยา/การผ่าตัด” นี่คือคำพูดของแพทย์ในประเทศที่พัฒนาแล้วที่ผมได้ทำการศึกษาในการรักษาผู้ป่วยของเขาในเกือบทุกโรคซึ่งจะเห็นว่าเขาเรียงลำดับ จากไม่ทำร้ายผู้ป่วยก่อน และผมก็ยึดคำๆนี้ในการรักษาตัวเองครั้งเมื่อเป็นอัมพาตเฉียบพลัน จนหายเป็นปกติโดยไม่ใช้ยา
แล้วคุณลองไปอ่านในเว็ปไซต์ของไทยดู จะเริ่มที่ยาก่อนเสมอและมักบอกว่า “คุณต้องทานยาไปตลอดชีวิต” อันนี้ผมไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเป็นนั้น
จำไว้นะครับ ร่างกายมนุษย์แสนมหัศจรรย์ยิ่งนัก เขามีระบบป้องกันตัวเอง ระบบการขับพิษ ระบบซ่อมสร้าง และอื่นๆที่เราคาดไม่ถึงเพราะเรามักมองไปที่การทำลายสิ่งที่เราไม่ต้องการ แต่ไม่เข้าใจว่าเซลล์ร่างกายเราต้องการอะไรครับ
วันนี้รายการ หมอนอกกะลา จะพาท่านไปรักษาในแบบ หมอนอกกะลา ซึ่งนำเอาคำพูดในการรักษาของประเทศที่พัฒนาแล้วมาใช้ กันนะครับ
หลักคิดครับ หยุดขาเข้า ลดการสร้าง และ เพิ่มขาออก ของยูริก ในเวลาเดียวกัน
หยุดขาเข้า ก็ลด ละ อาหารที่มีพิวรีนสูงและอาหารที่ไปทำให้ไตทำงานไม่ดีครับ
นี่เป็นคำพูดของแพทย์ไทยท่านหนึ่งซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้และเปลี่ยนวิถีมาเป็นแพทย์ทางเลือกแล้วครับ
“ถึงแม้ว่าโรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง และในปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงก็ตาม แต่การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาก็ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่ได้ละเลยความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ไป
การให้การศึกษาแก่ผู้ป่วย การให้ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์แก่ผู้ป่วย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าโรคเก๊าท์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งไม่เป็นความจริงหรือเมื่อข้อหายอักเสบแล้วไม่มีความจำเป็นต้องรับรับประทานอาหารที่ดีต่อ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นความเข้าใจที่ผิด และคลาดเคลื่อน ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าใจในตัวของโรค การปฏิบัติตัว รวมถึงแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง”
มาดูว่าอาหารอะไรควรหรือไม่ควรทานกันครับ
ระดับ purine ในอาหารชนิดต่างๆ
1. มี purine สูงควรหลีกเลี่ยงครับ ได้แก่ เป็ด ไก่ เครื่องใน ปลาดุก ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ไข่ปลา กุ้ง หอย กะปิ ขนมปัง เห็ด กระถิน ชะอม ขี้เหล็ก ถั่วดำ ถั่วแระ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
2. อาหารที่มี purine ปานกลาง ควรรับประทานให้น้อยลง ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง สะตอ ถั่วลันเตา ข้าวโอต หน่อไม้ กระหล่ำดอก ผักโขม
3. อาหารที่มี purine ต่ำรับประทานได้โดยไม่จำกัด ได้แก่ แตงกวา ข้าวโพด ผลไม้ ไข่ ธัญพืชต่าง ๆ
และสิ่งต่อไปนี้ขอเถอะครับเพื่อเห็นแก่ตัวทานเอง
หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา หรือเบียร์ เนื่องจากสุราและเบียร์สามารถทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์และอาหารทะเลในปริมาณมาก
ควรดื่มน้ำให้มากเพื่อเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางไต
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีส่วนทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เช่น การใช้ยาขับปัสสาวะในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง และใช้ยากลุ่ม angiotensin converting enzyme inhibitor หรือ calcium channel blocker แทน เป็นต้น มีรายงานว่า ยา losartan ซึ่งเป็น angiotensin receptor blockade (ARB) มีคุณสมบัติในการเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางไตได้ถึงร้อยละ 13-30
ผู้ป่วยที่อ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมากควรแนะนำให้ออกกำลังกาย คุมอาหารและลดน้ำหนักตัวให้มาอยู่ในเกณฑ์ปกติ การลดน้ำหนักตัวจะช่วยลดระดับกรดยูริกได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งสามารถลดข้ออักเสบกำเริบครับ
ในอดีตมีความเชื่อว่า เมื่อมีโรคเก๊าท์กำเริบให้หลีกเลี่ยงการบีบ นวด ถู รวมทั้งการประคบร้อน และประคบเย็น เนื่องจากเชื่อว่ามีโอกาสกระตุ้นให้โรคเก๊าท์อักเสบกำเริบได้ แต่ไม่นานมานี้ได้มีงานวิจัยที่พบว่า การประคบเย็นแก่ผู้ป่วยขณะที่มีข้ออักเสบกำเริบทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น
เห็นมั๊ยครับ ความเชื่อเดิม ๆ นั่นแหละที่ทำให้ผมไม่มีที่จอดรถ เวลาที่ผมไปบริจาคโลหิตครับ
วันนี้ขอระงับเหตุแค่นี้ก่อนนะครับ ประเดี๋ยวยาวไป จะเบื่อกันซะเปล่าๆ ก่อนลาก็ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้านะครับ สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น