วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มีบุตรยาก (เทคนิคการเพิ่มโอกาสการมีบุตร)1

7 Sep 2014

ไม่ขอพูดพล่ามทำเพลง สักดอกเลย (หมอนอกกะลา)
คำเตือน : จงให้วิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นวิธีสุดท้าย
ตอน มีบุตรยาก
เรียงเรียงโดย ไฝ พรหมวิหารสี่
ความหมายของ การมีบุตรยาก
ก่อนอื่นกระผมต้องกล่าวถึงคำจำกัดความของ "ผู้มีบุตรยาก" ให้ชัดเจน เพราะถ้าเข้าใจความหมายแล้ว เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็นครับ พูดกันง่ายๆ ก็คือว่า คู่สามีภรรยาที่อยู่กินหลังจากแต่งงานกันและมีเพศสัมพันธ์ตามปกติ เฉลี่ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์หรือมากกว่า โดยไม่มีการคุมกำเนิด เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิด หรือการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์เป็นต้น นานเกิน 6 เดือนหรือนานเกิน 1 ปี สำหรับผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 35 และมากกว่า 35 ปี ตามลำดับ ถือว่าเป็นผู้มีบุตรยาก ซึ่งภาวะมีบุตรยากนั้น ร้อยละ 60 มาจากเพศหญิง ในขณะเพศชายพบร้อยละ 40 ครับ
การแบ่งของภาวะมีบุตรยากจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. Primary infertility เป็นภาวะที่มีบุตรยาก โดยคู่สามีภรรยาพยายามมีบุตรหลายครั้งแต่ไม่ปรากฏการตั้งครรภ์เลย
2. Secondary infertility เป็นภาวะมีบุตรยากเหมือนกัน แต่เกิดกับหญิงที่เคยมีบุตรแล้ว แต่ไม่ปรากฏการตั้งครรภ์ในตอนหลังอีกเลย หรือปรากฏการตั้งครรภ์ แต่เกิดภาวะแท้งในภายหลังครับ
การรักษาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบัน
การรักษาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบัน มีหลายระดับ หลายความแรง และหลายราคา หรือว่าท่านผู้อ่านคิดว่าไม่จริงครับ ผมรู้สึกว่า การรักษาภาวะมีบุตรยาก เป็นเรื่องของการทำธุรกิจของสถานประกอบการหรือโรงพยาบาลที่มุ่งแสวงหากำไรมากกว่าการทำเพื่อการกุศลหรือสาธารณประโยชน์ เพราะด้วยราคาที่แสนจะแพงแบบไม่รับรองผลว่ากี่ครั้งจะสำเร็จ ไม่รู้กี่ครั้งที่จะต้องเจ็บ เจ็บใจเจ็บตัว.......ผมก็เลยคิดว่า ถ้าบุตรที่เกิดด้วยวิธีเหล่านี้ตอบสนองความต้องการของท่านได้แบบความเจ็บปวดรวดร้าว สูญสิ้นทั้งเงินทอง สูญสิ้นทั้งอิสระภาพในการต่อรองแล้วไซร้ ขอให้ท่านอย่าได้มีเลยดีกว่าครับ........
แต่ก่อนที่กระผมจะนำเข้าเรื่องของผักและสมุนไพรในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ขออธิบายหลักการรักษาทางวิทยาศาสตร์คร่าวๆ ให้รู้จักพอสังเขปดังนี้ครับ
ปัจจุบันมีการรักษาด้วยเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย ล้วนแล้วแต่มีการอวดอ้างสรรพคุณของวิธีการเหล่านั้นมากมาย ว่าเพิ่มโอกาสการมีบุตรขึ้น 30-40 เปอร์เซนต์ ....มาดูกันว่าวิธีเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ตั้งแต่ระดับรากหญ้าจนถึงระดับมหาเศรษฐี กันเลยที่เดียวครับ....
ซึ่งมีขั้นตอนต่าง ๆ คือ
1. การรักษาโดยอาศัยกลไกของธรรมชาติ
นับระยะวันไข่ตก กำหนดวันมีเพศสัมพันธ์ โดยมีเพศสัมพันธ์กันบ่อยขึ้นในวันที่ฝ่ายหญิงมีการตกไข่ การกำหนดวันตกไข่ทำได้โดย
- มีเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ (สัปดาห์ละ 3-4 วัน)
- กะประมาณด้วยตัวเอง วันที่ 10, 13 และ15 ของรอบประจำเดือนสำหรับผู้ที่
ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ทุก 28 วัน
- ตรวจการตกไข่ด้วยต้วเองโดยใช้เครื่องมือตรวจการตกไข่จากปัสสาวะแล้วมีเพศสัมพ้นธ์กัน (ซื้อได้ตามร้านยาทั่วไป)
- ให้แพทย์ตรวจโดยการทำ อัลตร้าซาวด์ และ/หรือการตรวจฮอร์โมนจากการเจาะเลือด หาช่วงเวลาของการตกไข่ (สิ้นเปลืองแน่นอน)
-ไม่ต้องอะไรมากเลยครับ ...เพราะช่วงไข่ตก จะต้องมีตกขาวและลักษณะของตกขาวแบบนี้จะเป็นตกขาวไม่มีสี ไม่คันไม่แสบไม่มีฟอง เป็นเมือกใสๆลื่นๆ โดยเมื่อนำน้ำเมือกหรือตกขาว มาดึงยืดออกสามารถยืดได้ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เห็นลักษณะนี้ จัดให้หลายๆดอกเลยครับ(คงเข้าใจคำว่า ดอก นะครับ)
-ตรวจอุณหภูมิของรางกายเป็นประจำ หากวันไหน (ใกล้ๆกลางรอบเดือน ประมาณวันที่ 12-17 ของทุก 28-30 วัน) มีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส (ถ้าผู้หญิงหัดสังเกตตัวเอง จะรู้ว่าวันไหนไข่ตก เพราะร่างกายจะอุ่นขึ้นและครั่นเนื้อครั่นตัวได้บ้างเล็กน้อย)
2. การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เมื่อวิธีแรกไม่ได้ผล มีวิธีรักษาต่างๆได้หลายวิธีดังนี้คือ
2.1 การฉีดเชื้ออสุจิ ( Intra Uterine Insemination หรือ IUI )
คือ วิธีการคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรง สมบูรณ์ ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกในวันที่ไข่ตก ผ่านทางท่อเล็กๆ เป็นการเพิ่มโอกาสให้อสุจิพบกับไข่มากขึ้น ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งมากกว่าวิธีธรรมชาติ 2-3 เท่า ในกรณีที่
- มีเชื้ออสุจิไม่แข็งแรง หรือมีปริมาณน้อย
- ไม่มีมูกที่ปากมดลูก หรือมูกเหนียวข้น
- ใช้วิธีธรรมชาติไม่ได้ผล
2.2 การทำเด็กหลอดแก้ว ( InVitro Fertilization and Embryo Retransfer หรือ IVF& ET )
วิธีเก็บเซลล์สืบพันธ์ทั้งไข่และอสุจิ มาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายจนแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อน และทำการเลี้ยงตัวอ่อนภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการจนถึงระยะ 4-8 cell หรือเป็น blastocyst แล้วจึงใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูก
ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ 20-50 % แล้วแต่สภาพสาเหตุและการเลี้ยงตัวอ่อน รักษาในกรณีที่
- ท่อนำไข่อุดตันทั้ง 2 ข้าง
- มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน ( Endometriosis)
- เชื้ออสุจิไม่แข็งแรง
2.3 การทำอิ๊กซี่ ( IntraCytoplasmic Sperm Injection หรือ ICSI )
หมายถึง การนำตัวอสุจิมาฉีดเข้าไปภายในเซลล์ไข่โดยตรง เพื่อช่วยให้ตัวอสุจิและไข่เกิดการปฏิสนธิ ในรายที่ฝ่ายชายมีจำนวนตัวอสุจิน้อยมาก หรือเคลื่อนไหวไม่มี
วิธีการคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรง สมบูรณ์เพียงตัวเดียว ฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง จะใช้ในกรณีที่เด็กหลอดแก้วธรรมดาไม่ได้ผล ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ 25-30 %
รักษาในกรณีที่
- เชื้ออสุจิผิดปกติอย่างมาก
- รังไข่ผิกปกติ ไม่มีการตกไข่
- ไข่และอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันเองได้
- เคยทำเด็กหลอดแก้วแล้วไม่มีการผสมของไข่ แม้ในรายที่น้ำอสุจิปกติ
- น้ำอสุจิอ่อนมาก เช่น มีตัวเคลื่อนไหวน้อยกว่า 5 แสนตัว ต่อ มล.
- ตัวอสุจิมีรูปร่างปกติน้อยกว่า 10%
- ในรายที่ไม่มีตัวอสุจิในน้ำเชื้อ และต้องเก็บตัวอสุจิจากอัณฑะ
การเก็บตัวอสุจิจากอัณฑะเพื่อทำอิกซี่
ในรายที่ฝ่ายชายไม่มีตัวอสุจิ ซึ่งเดิมถือว่าเป็นหมันไม่มีทางรักษานั้น ในปัจจุบันแพทย์สามารถช่วยคู่สมรสเหล่านี้ได้ โดยการดูดตัวอสุจิออกมาจากบริเวณถุงพักน้ำเชื้อ หรือที่เรียกว่า PESA (Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) ซึ่งหากได้ตัวอสุจิเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอที่จะนำไปฉีดเข้าไปในไข่ การใช้เข็มดูดนี้ เหมาะกับรายที่ท่อนำน้ำเชื้อตันแต่กำเนิด หรือภายหลังผ่าตัดทำหมันชาย สำหรับในกรณีที่การดูดจากถุงพักน้ำเชื้อไม่ได้ตัวอสุจิ ก็อาจลองดูดจากลูกอัณฑะโดยตรง หรือที่เรียกว่าTESA (Testicular Sperm Extraction)
หมายเหตุ
ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันบ่งว่าทารกที่ถือกำเนิดจากากรทำอิกซี่มีการพัฒนาทางร่างกายและทางสมอง เช่นเดียวกับทารกที่ถือกำเนิดเองตามธรรมชาติแต่อย่างไรก็ตามผลในระยะยาวยังไม่ทราบเนื่องจากเทคนิคนี้ค่อนข้างใหม่และเด็กรายแรกของโลกที่เกิดจากการทำอิกซี่ขณะนี้ยังมีอายุแค่เพียง 6ปีเท่านั้นเอง
ในปัจจุบันได้มีการผลิตกล้องกำลังขยายสูงขึ้น ซึ่งสามารถขยายได้ถึง 16000 เท่า ซึ่งทางโรงพยาบาลพญาไทศรีราชาได้นำเข้ามาใช้ในห้องปฏิบัติการของศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก จึงทำให้เรามองเห็นโครงสร้างบริเวณส่วนหัวของอสุจิได้ชัดเจนขึ้น เราเรียกวิธีการคัดอสุจิด้วยกล้องกำลังขยายสูงนี้ว่า อิมซี่ (Intracytoplasmic morphologically selected aperm injection, IMSI) ซึ่งทำให้เราสามารถเลือกอสุจิที่สมบูรณ์ได้ดียิ่งขึ้นทำให้อัตราการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้วโดยวิธีช่วยผสมแบบอิมซี่ (IMSI) นั้นมีอัตราการตั้งครรภ์ ที่สูงกว่าการทำอิกซี่โดยเฉพาะสาเหตุนั้นเกิดจากฝ่ายชาย
2.4 การทำกิฟท์ ( Gamete IntraFollopain Transfer หรือ GIFT )
วิธีเก็บเซลล์สืบพันธ์ทั้งไข่และอสุจิ มาผสมกัน แล้วใส่กลับเข้าสู่ท่อนำไข่ทันที อาศัยให้อสุจิและไข่ปฏิสนธิกันเองตามธรรมชาติ ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ 30-40 % รักษาในกรณีที่
- เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ มีพังผืด
- มีท่อนำไข่ที่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง
- เชื้ออสุจิอ่อนแอไม่มากนัก
- รายที่ไม่ทราบสาเหตุ
2.5 การทำซิฟท์ ( Zygote IntraFollopain Transfer หรือ ZIFT )
วิธีเก็บเซลล์สืบพันธ์ทั้งไข่และอสุจิ มาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายก่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนในระยะ Zygote ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ 20-30 %
รักษาในกรณีที่
- เชื้ออสุจิน้อยกว่าปกติ
- ท่อนำไข่ทำงานไม่ปกติแต่ไม่ตัน
- มีพังผืดมาก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- รายที่ไม่ทราบสาเหตุ
2.6 การแช่แข็งตัวอ่อน
ในกรณีที่มีการปฏิสนธิและการแบ่งตัวของดัวอ่อนมากกว่าที่จะใส่เข้าไปในโพรงมดลูกในคราวเดียวเราจะแช่แข็งตัวอ่อนเพื่อนำมาใส่ได้อีกเพื่อเพิ่มความสำเร็จ ลดค่าใช้จ่าย และลดภาวะแมรกซ้อนจากการกระตุ้นไข่และเจาะไข่แต่ละครั้ง
* การทำกิฟท์และซิฟท์จะต้องทำการผ่าตัดส่องกล้องช่องท้องเพื่อนำไข่และอสุจิหรือตัวอ่อนใส่เข้าไปในท่อนำไข่ นิยมทำในสมัยก่อนที่ห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนยังไม่สมบูรณ์
สมัยนี้นิยมทำ IVF และ ICSI เพราะไม่ต้องผ่าตัดส่องกล้องช่องท้อง
มาทำความเข้าใจการทำงานของฮอร์โมนกันก่อนครับ
ระดับของฮอร์โมนที่สัมพันธ์กันจะเป็นดังนี้คือ
• ในช่วงวันที่ 1-14 ของเดือนจะมีการสร้างและการเจริญของไข่จนสุกเต็มที่ช่วงนี้เรียกว่า Follicular phaseโดยจะมี ฮอร์โมน follicle stimulating hormone (FSH) กระตุ้นรังไข่ให้สร้าง estrogen เพื่อควบคุมการสร้างไข่และการเจริญของไข่ในช่วงนี้ระดับ ฮอร์โมน estrogen จึงมีปริมาณสูงขึ้น
• ในช่วงวันที่ 14-28 ของเดือนจะมีการสร้างฮอร์โมน Luteinizing hormone (LH) ซึ่งจะเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมน progesterone และระดับ ฮอร์โมน LH จะมีปริมาณสูงขึ้นก่อนวันที่มีการตกไข่เพราะฮอร์โมน LH จะกระตุ้นให้ไข่ตก ส่วน ฮอร์โมน progesterone จะควบคุมการหนาตัวของเยื่อบุมดลูกเพื่อรองรับไข่ที่ถูกผสม ดังนั้นในช่วงนี้ระดับ progesterone จะสูงถ้าไข่ไม่ได้ถูกผสมระดับ progesterone จึงจะลดระดับต่ำลง เยื่อบุมดลูกที่หนาตัวนี้ก็จะสลายตัวไปเป็นประจำเดือน
ผนังมดลูกบาง หมอบอกว่าอย่างนั้น
อันนี้คงหมายถึงเยื่อบุโพรงมดลูกบางน่ะครับ ปกติความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงตามวงจรของรอบระดู กล่าวคือ ในช่วงที่มีระดูเยื่อบุจะบางที่สุด จากนั้นเยื่อบุจะหนาตัวขึ้นเรื่อยๆจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโทรเจน ที่สร้างจากฟอลลิเคิลในรังไข่ที่โตขึ้น หลังมีการตกไข่แล้วผนังของฟอลลืเคิลจะเปลี่ยนไปเป็นคอร์ปัสลูเทียม ซึ่งจะสร้างทั้งเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน เพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีความพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว ในกรณีที่ไม่ตั้งครรภ์คอร์ปัสลูเทียมจะสลายตัว ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนลดลง เยื่อบุโพรงมดลูกจึงหลุดลอกออกมาเป็นระดู เยื่อบุโพรงมดลูกที่เหลืออยู่ในโพรงมดลูกจึงบางที่สุดในช่วงนี้
ในบางกรณี การใช้ยา โดยเฉพาะยารับประทานเพื่อกระตุ้นการตกไข่อาจมีผลข้างเคียงทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางกว่าที่ควรเป็นในช่วงของรอบระดูนั้นๆ ทั้งนี้เพราะยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต้านเอสโทรเจนที่ระดับของเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้เยื่อบุเจริญได้ไม่ดีเท่าที่ควร ถึงแม้จะมีไข่เจริญดีและมีระดับเอสโทรเจนในเลือดสูงก็ตาม คนที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกบางคงไม่มีอาการอะไร แต่สามารถตรวจพบได้โดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงวัดความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก ในขณะที่ตรวจเพื่อติดตามการเจริญของไข่ด้วยอัลตราซาวด์ บางท่านเชื่อว่าการมีเยื่อบุโพรงมดลูกบางอาจมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ เช่น โอกาสในการฝังตัวลดลง โอกาสแท้งสูงขึ้นการแก้ไขทำได้ยาก ควรเปลี่ยนวิธีการกระตุ้นไข่จากการใช้ยารับประทานมาเป็นธรรมชาติบำบัด เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของยารับประทานที่ใช้ในการกระตุ้นไข่
ความเป็นกรด-ด่าง และความเป็น isotonic ในช่องคลอด ส่งผลต่อการมีบุตรยาก
เป็นงานวิจัยของต่างประเทศ ที่มีการศึกษาในคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก หรือแม้แต่คนปกติอย่างเรานี่แหละ เวลาที่ช่องคลอดมีความเป็นกรด-ด่างต่างกันกับน้ำกาม จะส่งผลต่อตัวอ่อน (อสุจิ)ที่จะไปผสมกับไข่ของเพศหญิง โดยทำให้เชื้ออสุจิอ่อนแอหรือแย่หน่อยคือ ตายไปต่อหน้าต่อตา ...คือถ้าเป็นคนแข็งแรงทั่วไป ที่มีปริมาณเชื้อค่อนข้างมาก (มากกว่า 20 ล้านตัวต่อ 1 ซีซีของน้ำกาม) ก็คงไม่เป็นไรมาก ตายนิดตายหน่อยถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเป็นคนที่มีอสุจิน้อยอยู่แล้ว ปริมาณที่มันตายไปต่อหน้าต่อตา คงมีความหมายและเกิดผลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการมีบุตร เพราะเชื้ออสุจิที่มีชีวิต จะสร้างเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ในการย่อยสลายเปลือกไข่ของเพศหญิง ซึ่งต้องใช้เชื้อหลายๆตัวในการปล่อยเอนไซม์ที่ผิวเปลือกไข่ เพื่อให้เปลือกไข่บางลงมากที่สุด นั่นหมายความว่า ยิ่งมีเชื้ออสุจิมากในเวลาหนึ่งๆ หรือต่อเนื่องกัน จะทำให้เปลือกไข่บางลง จนกระทั่งบางให้เชื้ออสุจิ 1 ตัว เจาะผ่านเข้าไปข้างในไข่ และเกิดการผสมในที่สุด ซึ่งนับว่า เป็นความพยายามที่สุดของพวกมัน ที่จะปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จ......
เพระฉะนั้น จึงได้มีผู้ผลิตบางราย ได้อวดอ้างสรรพคุณของสารช่วยหล่อลื่นในขณะมีเพศสัมพันธ์ว่า สามารถทำให้เชื้ออสุจิ สามารถแหวกว่ายได้เร็วขึ้น ไม่ทำให้เชื้ออ่อนแอหรือตายไปขณะแหวกว่ายไปผสมกับไข่ ความจริงก็คือว่า ผู้ผลิตสารช่วยหล่อลื่น มักจะผลิตสารช่วยหล่อลื่นให้มีค่าเป็นกลาง (pH = 7) ถ้าความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอดเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ไม่จำเป็นต้องปรับความเป็นกรด-ด่างเลย แต่ในแง่การส่งเสริมให้มีบุตรได้ง่าย จำเป็นต้องปรับความเป็นกรด-ด่าง ของช่องคลอดหรือน้ำเมือก น้ำหล่อลื่น ในขณะมีเพศสัมพันธ์ให้เท่ากับน้ำอสุจิที่หลังออกมา เพื่อที่จะได้คงสภาพของเชื้อให้สมบูรณ์แข็งแรงที่สุดอย่างต่อเนื่อง เมื่ออยู่นอกร่างกาย ในสภาพแปรปรวนที่เกิดจากสภาพของสิ่งแวดล้อมภายในช่องคลอด และสิ่งที่ใส่ใจกว่านั้นคือ สภาพ isotonicity หรือสภาพความเข้ากันได้กับเลือด ย่อมส่งผลต่อภาวะการตายของเชื้ออสุจิเหล่านี้อีกด้วยแน่นอน
......ในความเป็นจริง น้ำอสุจิ มีสภาพเป็นด่าง คือ pH 7.2 ถึง 8.0 ส่วนภายในช่องคลอดมีสภาพเป็นกรดและด้วยอสุจิสามารถมีชีวิตในสภาพที่เป็นด่างเท่านั้น ดังนั้น สารหล่อลื่นที่ดีควรปรับสภาพให้สามารถรองรับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ดี (buffer capacity ) โดยสามารถตรึง pH ให้อยู่ในช่วงนี้ได้ดีและยาวนานที่สุด เพราะตามธรรมชาติของน้ำอสุจิ จะมีความข้นเหนียวมากเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับพวกมัน และจะเหลวอีกครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที เพื่อจะได้เกิดการแหวกว่ายอย่างอิสระเพื่อไปผสมกับไข่ที่อยู่ภายในท่อนำไข่ต่อไป เพราะฉะนั้นสภาพที่เหมาะสม จึงสามารถส่งเสริมการมีบุตรของคู่สามีภรรยาที่ต้องการมีบุตรได้อีกทางหนึ่ง
ผมได้อ่านงานชิ้นนี้ ผมชอบมากเลยเอามาฝากครับ
ฉันไม่สามารตังครรภ์ได้เลยในระเวลา 6 ปี จนกระทั่งฉันค้นพบความลับดีๆ (7 ข้อ) คำกล่าวข้างบนนี้ แปลจากภาษาอังกฤษที่ว่า " I couldn't get pregnant for 6 years until I found this secret !!"
ความลับที่ว่านั้น ขอแจกแจงทีละข้อนะครับ เพื่อให้ทุกท่านที่อ่านเข้าใจและนำไปลองปฏิบัติตาม รับรองสิ่งที่เขียนขึ้นมา สามารถทำให้บางท่านมีบุตรสมใจได้ครับ
1. Eat more akaline than acidic foods : หมายถึง ให้ท่านกินอาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง มากกว่าอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เพราะ ความเป็นกรดด่างสำคัญต่อกระบวนการปฏิสนธิและการฝังตัวของตัวอ่อน ถ้าเท้าความไปยังบทความที่ผ่านมา เราจะพบว่า สภาพของน้ำกามหรือน้ำอสุจิเป็นด่าง ส่วนช่องคลอดของผู้หญิงเป็นกรด สาเหตุที่เป็นกรดเพราะร่างกายต้องกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งอสุจิ ก็ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคด้วยเช่นกัน( ร่างกายไม่รู้หรอกครับ ว่าตัวไหนมาดีหรือมาร้าย ใครหน้าไหนเข้ามา ร่างกายจัดการกับมันเรียบ) อย่างไรก็ตามการลดสภาวะ stress ภายในช่องคลอดโดยการลดความเป็นกรด สามารถกระทำได้อย่างปลอดภัย โดยการเลือกรับประทานอาหารหรือผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นด่างเมี่อผ่านกระบวนการของร่างกาย ได้แก่.....
* Citrus fruits : ได้แก่พืช ส้ม มะนาว หรืออะไรก็ตามที่มีรสเปรี้ยว ควรบริโภคแต่น้อย หรือบริโภคผลไม้รสฝาด (ฝาด = ด่าง)
* Vegetables : พืชผักทุกชนิด ได้แก่ผักใบเขียวทุกประเภท ยกเว้นบางชนิด เช่น ขึ้นช่าย เป็นต้นไม่ควรรับประทาน
ย้ำทุกรอบ สิ่งที่ทำให้ร่างกายเป็นกรดมากที่สุดคือ หวาน ครับ
* งดรับประทานสำหรับ ผลิตภัณฑ์นมจากสัตว์ และถั่วเหลือง ที่ไม่สกัดด้วยระบบ Hydrolysis
พูดง่ายๆ ก็คือว่า ถ้ารับประทานอาหารดังกล่าว จะได้ right pH สำหรับ conception and implantation ครับ
(ไปแปลกันเองบ้างนะจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกันแล้ว ล้อเล่นครับ ผมก็เครียดเป็นนะครับ)
2. Eat more essential fatty acid : ตัวสำคัญที่จะกล่าวถึงคือ linoleic acid และ alpha-linoleic acid ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อกระบวนการตกไข่ (Ovulation) จากการเกิด Follicle rupture (the release of egg) และพัฒนาให้เกิด corpus luteum (ที่อยู่ของไข่ที่ได้รับการผสม) ในเวลาต่อมา ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วย linoleic acid และ alpha-linoleic acid ได้แก่
* ปลาทุกชนิด (พวกที่ชอบทานปลา มักได้เปรียบ)
* fish oil (สามารถหาซื้อทานได้ มีรูปแบบอาหารเสริมมากมายในท้องตลาดแต่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านฤทธิอาหารเพื่อให้ร่างกายสมดุล)
*ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองผู้ชายที่เป็นสามี ต้องงดหรือห้ามรับประทานยกเว้นมีการสกัดด้วยระบบ Hydrolysis ที่แยกสารพิษออกแล้ว เพราะถั่วเหลืองมีสารที่เป็น phyto-estrogen สามารถทำให้จำนวนอสุจิลดลงได้ เนื่องจากสารตัวดังกล่าว คล้ายคลึงกับฮอร์โมน เอสโตรเจน ในเพศหญิง ซึ่งหากร่างกายที่เป็นผู้ชายได้รับในปริมาณหนึ่ง จะแสดงความเป็นผู้หญิงได้เช่นกัน เช่น การมีน้ำเสียงที่เล็ก แหลมขึ้น มีหน้าอกขยายใหญ่ขึ้น หนวดเคราลดลง เป็นต้น
*พืชผักต่อไปนี้ ต้องทานอย่างน้อย 2-3 ครั้ง/ สัปดาห์ ได้แก่กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี แครอท หรือ บร็อคโคลี (ถ้าหาซื้อแครอทหรือบร็อคโคลีไม่ได้ ก็ไม่ต้องรับประทานหรอกครับ เพราะ กะหล่ำปลีดีที่สุด เลือกที่ปลอดสารพิษ และด้วยราคาที่ไม่แพง กิโลกรัมละ 20 บาท สามารถกินสดๆ กับลาบ ขนมจีน ลูกชิ้น ไส้กรอก สารพัดอาหาร และมีงานวิจัยมากมายว่า ไอ้เจ้ากะหล่ำปลีนี่แหละ คือพระเอกสำหรับผู้มีบุตรยากตัวจริงครับ
เนื่องจากสาร linoleic acid และ alpha-linoleic acid จัดเป็นสารกลุ่ม Omega-3 fatty acid เป็นสารกลุ่มที่ต้านการเกาะของไขมันในหลอดเลือดตามอวัยวะต่างๆ รวมไปถึงหลอดเลือดที่อยู่ในมดลูก (uterus) นั่นหมายความว่า ถ้าเลือดไปเลี้ยงอวัยวะใดได้มาก ก็คือการนำพาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ไปยังอวัยวะนั้น และนอกเหนือจากนั้น ยังเป็นการพาพวกของเสียที่เกิดขึ้นออกไปจากอวัยวะนั้นอีกด้วย ทำให้ระบบภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยต่อกระบวนการปฏิสนธิให้ประสบความสำเร็จขึ้นด้วย
3. รับประทานอาหารที่เป็น organic food (อาหารธรรมชาติ ที่ไม่ผ่านการสังเคราะห์) และเนื้อสัตว์ที่ปราศจากฮอร์โมน (Hormone-free meats) : ยาฆ่าแมลง สารเคมีหรือฮอร์โมน ที่หลงเหลือตกค้าง จะส่งผลแบบ negative effect ในอวัยวะหรือต่อมไร้ท่อต่างๆ ในร่างกาย เพราะฉะนั้นการเลือกรับประทานผักหรืออาหารที่เป็น organic ปราศจากสารพิษเจือปน ย่อมทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทาน และเลือกรับประทานอาหารที่ส่วนผสมของเกลือและน้ำตาลแต่น้อย ไม่ควรบริโภคเยอะ เพราะอาจส่งผลทำให้เกิดอนุมูลอิสระ หรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานหนักเกินกว่าปกติด้วย (imbalace) แนะนำให้กินปลาที่มีความสดเอามาอบจะดีกว่า ไม่ต้องไปเสี่ยงสักเท่าไหร่
4.รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยสาร di-indolylmethane (DIM) โดยเป็นสารที่กระตุ้นให้เอสโตรเจนเกิดการสันดาป ทำให้อารมณ์เป็นปกติ แสดงภาวะผู้หญิงตามรอบเดือน และกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ซึ่งได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี (มาอีกแล้ว พระเอกของเรา)
5. รับประทานวิตามินและเกลือแร่ทดแทน การรับประทานวิตามินรวมที่มีเกลือแร่รวมอยู่ด้วยนั้น ส่งผลดีต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งวิตามินและเกลือแร่ที่ต้องการสำหรับภาวะมีบุตรยากได้แก่ เหล็ก กรดโฟลิก วิตามินบี (โดยเฉพาะ บี6 ) วิตามินเอ ซี อี สังกะสี ซีลีเนียม ซึ่งทั้งหมดอยู่ในอาหารและผักผลไม้ที่จะได้กล่าวถึง หรือมีในรูปแบบอาหารเสริมที่ขายอยู่กลาดเกลื่อนในท้องตลาดครับ(หาข้อมูลให้เยอะหน่อยเดี๋ยวนี้อาหารเสริม ห่วยๆ มีเยอะ ทั้งที่มีงานวิจัยหลายร้อยเล่มยืนยันว่า ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองก่อให้เกิดเนื้องอกและมะเร็งก็เห็นยังดันทุรังขายกันเป็นวรรคเป็นเวรครับ)
6. งดกาแฟ บุหรี่และแอลกอฮอล์ โดยบุหรี่จะทำให้ไข่ไม่เกิดการผสม (makes eggs resistant to fertilization) นอกจากนี้ บุหรี่ยังทำให้ปริมาณอสุจิในผู้ชายลดลงด้วย (low sperm count in men) และนิโคตินจากบุหรี่มีฤทธิ์หดหลอดเลือด (vasoconstriction) ทำให้อวัยวะสืบพันธ์ทั้งผู้หญิงและผู้ชายทำงานได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากขาดเลือดและฮอร์โมนมาหล่อเลี้ยง ทำให้มีบุตรยากยิ่งขึ้น
7. ลดการใช้ยาถ้าไม่จำเป็น : การใช้ยากลุ่มแก้ปวด (NSAIDs) อย่างเช่น ไอบูโพรเฟน (ไอบูแกน, นูโรเฟน ) เมฟเฟเนมิก แอซิด (พอนด์สแตน) จะไปยับยั้งการสร้าง prostaglandin ทำให้ไข่ไม่ตก (inhibit ovulation) ถ้าเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน หรือถ้าคุณเป็นคนช่องคลอดแห้งระหว่างมีเพศสัมพันธ์ คุณควรงดรับประทานยาลดน้ำมูก คัดจมูก (anti-histamin and nasal decongestants) และรับประทานไวตามินซีทดแทนจะดีกว่าครับ.....
พืชผักที่ต้องบริโภคเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก : กะหล่ำดอกและกะหล่ำปลี
ต้องรับประทานทุกวัน วันละ ครึ่ง ถึง 1 ผล สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จนกระทั่งมีบุตร
กะหล่ำดอก
มีชื่อพื้นบ้านว่า กะหล่ำดอก และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า คอลิฟลาวเวอร์ (Cauliflowerกะหล่ำดอกมีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วยสารเอนไซม์ต้านมะเร็งชื่อ ซัลโฟราเฟน (sulforaphane)
สารฟีโนลิกส์ (phenolics) สารไอโซไทโอไซยาเนท (isothiocyanates) สารผลึกอินโดล
(indoles) อินโดล ทรี คาร์บินัล (indole-3-carbinal) ไดไทอัลไทโอน (dithiolthiones) กลูโค
ไซโนเลท (glucosinolates) กรดโฟลิก และคูมารีน ( folic acid & coumarines) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกะหล่ำดิบจะมีวิตามินซีสูง มีธาตุโพแทสเซียม กำมะถัน และเส้นใยมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น