For On Suwarin
เราสามารถ หาค่าดัชนีมวลกาย โดยใช้สูตร ดังนี้ครับ
ให้เอาน้ำหนักตัวเป็นตัวตั้ง (เป็นกิโลกรัม)และส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง) เป็นตัวหาร หรือหารด้วยส่วนสูงสองครั้ง
ตัวอย่าง ผู้หญิงคนหนึ่งน้ำหนัก 55 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงคนนี้ = 22.03
เราสามารถ หาค่าดัชนีมวลกาย โดยใช้สูตร ดังนี้ครับ
ให้เอาน้ำหนักตัวเป็นตัวตั้ง (เป็นกิโลกรัม)และส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง) เป็นตัวหาร หรือหารด้วยส่วนสูงสองครั้ง
ตัวอย่าง ผู้หญิงคนหนึ่งน้ำหนัก 55 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร ค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงคนนี้ = 22.03
การแปลผล
• ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 คุณมีน้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดจากนักกีฬาที่ออกกำลังกายมาก และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณพลังงานเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
• ดัชนีมวลกายระหว่าง 18.5-22.9 คุณมีน้ำหนักปกติและมีปริมาณไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ มักจะไม่ค่อยมีโรคร้าย อุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงต่ำกว่าผู้ที่อ้วนกว่านี้
• ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 23-24.9คุณเริ่มจะมีน้ำหนักเกิน หากคุณมีกรรมพันธ์เป็นโรคเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23
• ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 25-29.9คุณจัดว่าเป็นคนอ้วนระดับ1 และหากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.(ชาย) 80 ซม.(หญิง) คุณจะมีโอกาศเกิดโรคความดัน เบาหวานสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
• ดัชนีมวลกายมากกว่า 30คุณจัดว่าอ้วนระดับ 2 คุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วน หากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติ คุณจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง คุณต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง
การวัดเส้นรอบเอว
ดัชนีมวลกายบอกว่าน้ำหนักของคุณเกินค่าปกติ แต่ไม่ได้บอกว่าคุณเสี่ยงต่อสุขภาพ เนื่องจากไขมันที่สะสมในที่แตกต่างกัน จะมีผลเสียต่อสุขภาพต่างกัน คนที่อ้วนลงพุงจะมีไขมันสะสมในอวัยวะภายในมาก จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เราจะรู้ว่าอ้วนลงพุงหรือไม่เราจะวัดจากเส้นรอบเอว ผมไม่แนะนำให้ใช้ยาหรือสารเคมีไดๆ มันแก้ยากเมื่อมันแสดง ผลข้างเคียง มาปรับพฤติกรรมครับ ผมพร้อมให้คำแนะนำ เมื่อมีเวลาครับ
วิธีการวัด
• ใช้สายเมตรธรรมดา
• วัดรอบเอวเหนือสะโพก
• ให้สายขนานกับพื้น
• อย่าให้สายรัดแน่เกินไป
• วัดขณะที่หายใจออกเต็มที่
• ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 คุณมีน้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดจากนักกีฬาที่ออกกำลังกายมาก และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณพลังงานเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
• ดัชนีมวลกายระหว่าง 18.5-22.9 คุณมีน้ำหนักปกติและมีปริมาณไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ มักจะไม่ค่อยมีโรคร้าย อุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงต่ำกว่าผู้ที่อ้วนกว่านี้
• ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 23-24.9คุณเริ่มจะมีน้ำหนักเกิน หากคุณมีกรรมพันธ์เป็นโรคเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23
• ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 25-29.9คุณจัดว่าเป็นคนอ้วนระดับ1 และหากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.(ชาย) 80 ซม.(หญิง) คุณจะมีโอกาศเกิดโรคความดัน เบาหวานสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
• ดัชนีมวลกายมากกว่า 30คุณจัดว่าอ้วนระดับ 2 คุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วน หากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติ คุณจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง คุณต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง
การวัดเส้นรอบเอว
ดัชนีมวลกายบอกว่าน้ำหนักของคุณเกินค่าปกติ แต่ไม่ได้บอกว่าคุณเสี่ยงต่อสุขภาพ เนื่องจากไขมันที่สะสมในที่แตกต่างกัน จะมีผลเสียต่อสุขภาพต่างกัน คนที่อ้วนลงพุงจะมีไขมันสะสมในอวัยวะภายในมาก จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เราจะรู้ว่าอ้วนลงพุงหรือไม่เราจะวัดจากเส้นรอบเอว ผมไม่แนะนำให้ใช้ยาหรือสารเคมีไดๆ มันแก้ยากเมื่อมันแสดง ผลข้างเคียง มาปรับพฤติกรรมครับ ผมพร้อมให้คำแนะนำ เมื่อมีเวลาครับ
วิธีการวัด
• ใช้สายเมตรธรรมดา
• วัดรอบเอวเหนือสะโพก
• ให้สายขนานกับพื้น
• อย่าให้สายรัดแน่เกินไป
• วัดขณะที่หายใจออกเต็มที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น