เห็นโฆษณาสวยๆที่รักษาปลายเหตุ ก็อดเป็นห่วงทั้งสุขภาพกายและกระเป๋าตังค์ทุกท่านครับ งั้นเอาตามสูตรผมครับ อันนี้ก็ ไม่บังคับ ไม่ขอ ไม่ตื้อและไม่ง้อให้เชื่อครับแต่ผมไม่เป็น
โรคกรดไหลย้อน (Gastro-esophageal Reflux Disease, GERD) หมายถึงโรคที่มีอาการจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน แม้ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม
โดยปกติร่างกายจะมีกลไกป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไป โดยการบีบตัวของหลอดอาหาร การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนและส่วนล่าง เยื่อบุของหลอดอาหารเองก็มีกลไกป้องกันการทำลายจากกรดครับ
จินตนาการตามผมนะครับ
เส้นทางสู่กระเพาะอาหาร
ระบบทางเดินอาหารส่วนต้นมีจุดเริ่มต้นจากปาก เมื่อเราตักอาหารใส่ปาก เคี้ยวและกลืน อาหารจะผ่านหลอดอาหารลงมาสู่ส่วนปลายของหลอดอาหารที่มีลักษณะเป็นหูรูด ที่เรียกว่า “หูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (Lower esophageal sphincter)” ผ่านลงสู่กระเพาะอาหารซึ่งมีน้ำย่อยที่เป็นกรดย่อยอาหารให้เล็กลง และส่งผ่านไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยต่อไป
หูรูดหลอดอาหารที่แข็งแรง
หูรูดหลอดอาหารที่แข็งแรงเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับ ในภาวะปกติหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างนี้จะเปิดเฉพาะเมื่อมีการกลืนอาหาร เพื่อให้อาหารผ่านอย่างสะดวก และบีบรัดตัวปิดทันทีเพื่อไม่ให้อาหารที่กลืนลงไปแล้ว และกรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปอีก
จะเกิดอะไรขึ้นหากหูรูดหลอดอาหารอ่อนแอ
หูรูดหลอดอาหารอาจเกิดการหย่อนตัวหรือเปิดบ่อยกว่าปกติได้จากสาเหตุต่างๆ ได้แก่ การรับประทานอาหารรสจัด แรงกดต่อกระเพาะอาหารที่มากเกินไป การสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปทำอันตรายต่อเยื่อบุหลอดอาหารที่มีความอ่อนบาง และไม่มีกลไกป้องกันกรดเหมือนกับเยื่อบุกระเพาะอาหาร
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อนเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ หลอดอาหารส่วนปลายมีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารบีบตัวอย่างผิดปกติ รวมถึงพันธุกรรมด้วย ในคนบางคน หูรูดหลอดอาหารทำงานได้น้อย รวมถึง
• ยาบางชนิด
• Hiatus hernia (คือโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้นเข้าไปในกำบังลม)
• อ้วน
• ตั้งครรภ์
• ความเครียด
• และที่เราสร้างเองคือ
• สูบบุหรี่
• อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารมักดอง อาหารมัน อาหารย่อยยาก
• ทานอาหารมากจนอิ่มเกินไป
• ช้อกโกแลต กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึง มะนาวโซดาด้วยนะครับ
• อาหารมัน ของทอด
• หอม กระเทียม
• มะเขือเทศ
• ดื่มสุรา
• Hiatus hernia (คือโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้นเข้าไปในกำบังลม)
• อ้วน
• ตั้งครรภ์
• ความเครียด
• และที่เราสร้างเองคือ
• สูบบุหรี่
• อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารมักดอง อาหารมัน อาหารย่อยยาก
• ทานอาหารมากจนอิ่มเกินไป
• ช้อกโกแลต กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึง มะนาวโซดาด้วยนะครับ
• อาหารมัน ของทอด
• หอม กระเทียม
• มะเขือเทศ
• ดื่มสุรา
ภาวะของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดับครับ
ระดับแรก มีภาวะกรดไหลย้อนบ้างในบางครั้ง เป็นบ้าง ไม่เป็นบ้าง แล้วก็หายไป ไม่มีผลต่อสุขภาพมากมาย
ระดับสอง มีอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาเฉพาะที่บริเวณหลอดอาหาร
ระดับสาม มีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาก จนไหลขึ้นไปถึงกล่องเสียงหรือหลอดลม
อาการของโรค
ผู้ป่วยจะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ การไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อลำคอ กล่องเสียง และปอดได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง หรือรู้สึกสำลักในเวลากลางคืน เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม เนื่องจากเวลานอน กรดจะไหลย้อนขึ้นมาได้มาก ปวดแสบ ปวดร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ หรือที่เรียกว่า Heart Burnเนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน กลืนอาหารลำบาก หรือกลืนเจ็บ เจ็บคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง ถ้าเป็นมาก จะเจ็บคอมาก จนอาจจะกลืนอาหารแทบไม่ได้ คลื่นไส้ มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในปากหรือลำคอ มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา
คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร จึงไปซื้อยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารมารับประทานเอง ทำให้การรักษาไม่ตรงจุด สร้างความทุกข์ทรมานทำให้คุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานลดลง หากละเลยไม่ทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นโรคปอดอักเสบและมะเร็งหลอดอาหารได้ครับ
ถ้าท่านเชื่อในการรักษาด้วยยาท่านก็ได้ตามนี้ครับ
• Antacids เป็นยาตัวแรกที่ใช้ เพื่อลดความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ใช้ในผู้ที่มีอาการเล็กน้อย หรือเป็นเพียงครั้งคราว เช่น Aluminium hydroxide , magnesium hydroxide เป็นต้น
• ยากลุ่มกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร (Prokinetics) เพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารทำให้อาหารเคลื่อนออกจากกระเพาะอาหารเร็วขึ้น เช่น Metoclopamide , Domperidone เป็นต้น
• ยากลุ่ม H2 Receptor Antagonists ออกฤทธิ์ยับยั้งฮีสตามีน(Histamine)ไม่ให้จับตัวกับตัวรับในกระเพาะอาหารทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดลดลง เช่นCimetidine,Famotidine,Ranitidine เป็นต้น
ยากลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม(Proton Pump Inhibitors:PPI) ยับยั้งโปรตอนปั๊มที่อยู่ในกระเพาะอาหารซึ่งเป็นกลไกขั้นสุดท้ายในการหลั่งกรด จึงสามารถลดการหลั่งกรดได้สมบูรณ์เช่น Omperazole,Esomeprazole,Pantoprazole เป็นต้น
หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดมาก หรือทำให้หูรูดหย่อน เช่น ยาแก้ปวด aspirin NSAID VITAMIN C ไม่ควรซื้อยารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น
อีกอย่าง ยาที่กล่าวมาข้างต้น ลดการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ทานไปนาน ๆ ร่างกายจะแสดงภาวะขาดแคลเซียมในหลายรูปแบบ บานปลายไปหลายเรื่องเลยครับ
การผ่าตัด
เมื่อยาทั้งหลายเอาไม่อยู่ ท่านจะได้รับคำปรึกษานี้ อย่าทำเด็ดขาดครับ เพราะเมื่อทำแล้วคุณต้องเคี้ยวอาหารจนเป็นแป้งกันเลยทีเดียวเลยก่อนกลืน มันน่าเบือมากครับ
โรคแทรกซ้อน อันนี้ผมไม่อยากพิมพ์เลยครับ
หลอดอาหารที่อักเสบอาจจะทำให้เกิดแผล และมีเลือดออด หรือหลอดอาหารตีบทำให้กลืนอาหารลำบาก
อาจจะทำให้โรคปอดแย่ลง เช่นโรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบหรือเกิดเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้
แล้วรักษาได้ไหม
ได้ครับ ภรรยาผมหายแล้วครับหลังจากปล่อยให้เธอทานยามานานหลายปีเพราะไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจังจนลุกลามไปเป็นอย่างอื่น
หลังจากได้ศึกษาในทุกแง่มุม ทั้งสมุนไพร และยารักษาโรค ก็พบว่าล้วนรักษาปลายเหตุกัน วันนี้ผมจะใช้โภชนาการที่ถูกต้องทำให้ท่านหายภายใน 48 วันเป็นอย่างสูงครับ ถ้าท่านรักตัวเองและปฏิบัติตามผมอย่างจริงจัง
ตามมาครับ
การรักษา
โรคกรดไหลย้อนสามารถรักษาได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ลดอาหารมัน ของทอด ของหวาน รับประทานอาหารให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี ถ้าทำได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็ช้าขึ้นครับ
ข้อแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ควรพยายามลดน้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกินจะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น
พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้เครียด และถ้าสูบบุหรี่อยู่ ควรเลิก เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น ถ้าไม่เคยสูบบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือควันบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้เครียด และถ้าสูบบุหรี่อยู่ ควรเลิก เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น ถ้าไม่เคยสูบบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือควันบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
นิสัยในการรับประทาน
หลังจากรับประทานอาหารทันที พยายามหลีกเลี่ยงการนอนราบ การออกกำลัง การยกของหนัก การเอี้ยวหรือก้มตัว หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก และไม่ควรรับประทานอาหารใดๆ อย่างน้อยภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนนอน รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด อาหารมัน พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ อาหารจานด่วน (fast food) ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม สะระแหน่ เนย ไข่ นม หรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด เป็นต้น รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ ควรรับประทานอาหารปริมาณทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ (แม้จะเป็นกาแฟที่ไม่มีกาเฟอีนก็ตาม) ชา น้ำอัดลมเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ วิสกี้ ไวน์ โดยเฉพาะในตอนเย็น
นิสัยในการนอน
ถ้าจะนอนหลังรับประทานอาหาร ควรรอประมาณ 3-4 ชั่วโมง เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้นราบ อาจเริ่ม ประมาณ 1/2-1 นิ้วก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น จะทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น
ผมเรียงโภชนาการไปตามอาการนะครับ
ยอ
มีการศึกษาวิจัยในหนู พบว่า “ยอ” ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ สโคโปเลติน (scopoletin) เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยนั้น สามารถลดการอักเสบของหลอดอาหารจากการไหลย้อนของกรดได้ผลดี พอๆ กับยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษากรดไหลย้อน คือ รานิติดีน (ranitidine) และแลนโสพราโซล (lansoprazole) เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการหลั่งของกรด ต้านการเกิดแผล และทำให้การบีบตัวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น โดยมีผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวข้องโดยตรง และยังมีรายงานว่าสามารถเพิ่มการดูดซึมของรานิติดีน
หาลูกยอมาสัก สองกิโลกรัมล้างให้สะอาด น้ำตาลแดง 1กิโลกรัม ใส่ในภาชนะ ใส่น้ำพอท่วมปิดฝาให้สนิทสัก 3 เดือน เมื่อได้ตามกำหนด ก็ใช้น้ำหมัก 1-2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำเปล่า 250 cc ดื่มก่อนอาหาร ก็ใช้แทนยาได้ครับ ตับจะได้ไม่เดือดร้อนมากนัก
ขมิ้นชัน
มีจุดเด่นไว้รักษาโรคกระเพาะอาหารและแผลในกระเพาะอาหารเป็นอย่างดี ขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินอีถึง 80 เท่า ใช้ปรุงอาหารหรือ บดผงใส่แคปซูลก็ได้ครับ
กล้วยดิบ
กล้วย มีไฟเบอร์ชนิดที่เรียกว่า fructo-oligosaccharides เป็นไฟเบอร์ที่มีประโยชน์อย่างมากต่อระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ แต่ตามหลักการแพทย์แผนไทย “รสฝาดมีฤทธิ์สมานแผล” ฉะนั้นผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหารสามารถทานกล้วยดิบก็เป็นยาสมานแผลในกระเพาะอาหาร
วิธีใช้
ทานสด โดยหั่นกล้วยน้ำว้าดิบเอาเปลือกออกเป็นชิ้นบางๆ 2-3 ลูก ทานก่อนมื้ออาหาร 20 นาที ทุกมื้อ
หากมีอาการท้องเดินมาก ให้ทานรวมทั้งเปลือกด้วยเลยครับ
ถ้าทานยากก็ฝานกล้วยน้ำว้าดิบเป็นแผ่นบางๆ น้ำไปตากแห้งแล้วตำหรือ ปั่นให้ผงละเอียด เก็บใส่ขวดไว้ เอามาชง 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำอุ่นครึ่งแก้ว ทานก่อนอาหาร 15 นาทีทุกมื้อ
ของชาติอื่นๆ เขาก็ใช้กันครับ
Extracted from raw bananas, helps to kill bacteria which cause of diarrhea. Reduce the incidence of gastric ulcers. Making digestion more perfect.Add good bacteria in the gut. Make a result of no pile of food. Reduce flatulence, colic, reflux symptoms.Cleaning the colon and no constipations.Reduce the risk of colon cancer.
แล้วถ้าที่กล่าวมาไม่สะดวกก็นี่ครับ สกัดไว้ให้แล้วครับ
กล้วย มันฝรั่ง ข้าวกล้องผง ถั่วเขียวผง มะตูม กระชายผง ขมิ้นขาว ลิ้นจี่และพุทราจีน
สารอาหารจากที่กล่าวมานี้ผมได้โพสต์ไว้ให้ได้อ่านกันแล้วครับ แต่มันอยู่กันคนละตอนและเกี่ยวโยงกับสุขภาพหลายด้าน แต่นี่คือสรุปสำหรับผู้มีกรดไหลย้อนโดยเฉพาะครับ
สารอาหารจากที่กล่าวมานี้ผมได้โพสต์ไว้ให้ได้อ่านกันแล้วครับ แต่มันอยู่กันคนละตอนและเกี่ยวโยงกับสุขภาพหลายด้าน แต่นี่คือสรุปสำหรับผู้มีกรดไหลย้อนโดยเฉพาะครับ
ย๊ า ว ย า ว ผมย่อได้แค่นี้ล่ะครับไม่งั้น ไม่รู้เรื่องแล้วผมเองก็ปวดทั้งตาและนิ้วครับ เอาละ ก่อนลาก็ขอให้ทุกคนทุกท่านมีสุขภาพดีกันนะครับ สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น