กลัวครับ การเขียนสิ่งที่ส่งผลกระทบถึงผู้คนและองค์กรหลายองค์กร มันก็ทำให้ผมกลัวขึ้นมานิด ๆ ถึงสิ่งที่จะสะท้อนกลับมายังผู้เขียน
เอาเป็นว่า ต่อไปนี้เป็น ”ความรู้” และไม่ประสงค์ที่จะทำลายผู้ใดไห้เสียหายไม่ว่าจะเป็นการส่วนตัว หรือ เชิงพานิชย์ก็ตาม
“หมอนอกกะลา”วันนี้จะพามารู้จักกับแร่ธาตุที่เรารู้จักกันเพียงผิวเผินและไม่ค่อยใส่ใจในความสำคัญของสิ่งนี้กันครับ
แคลเซียม กับ แม็กนีเซียม
ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกับท่านที่นิยมสินค้าต่างประเทศกันก่อนนะครับ จำไว้ให้ดีนะครับ สารอาหาร ที่ผลิตในประเทศใด เพื่อตลาดใด เขาตั้งใจให้มันเหมาะสมกับลักษณะอาหารการกินและสภาพภูมิอากาศของผู้คนในตลาดนั้น ๆ อาทิ ทำไมอเมริกา ออสเตรเลีย จึงผลิตแคลเซียมแล้วผสมแม็กนีเซียมน้อยหรือบางยี่ห้อไม่ผสม เหตุก็เพราะ อาหารที่เขาทานกันมัน มีแม็กนีเซียมสูงอยู่แล้ว ถ้าคนไทยซึ่งทานแคลเซียมของเขาแล้วไม่ทานอาหารเหมือนเขา ไม่นานท่านเป็นตะคริวแน่ๆ เพราะลักษณะอาหารของไทยไม่ค่อยจะมีแม็กนีเซียม ยาวแน่ๆอย่าเพิ่งเบื่อครับ ความรู้ยิ่งมาก ยิ่งครอบคลุม ยิ่งดีครับ
ความรู้เบื้องต้น
หน้าที่ของแคลเซียม
ช่วยให้กระดูกและฟันมีสุขภาพแข็งแรง
ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อมและกระดูกหัก
ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่
ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ
มีส่วนช่วยให้จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นปกติ
ช่วยเผาผลาญธาตุเหล็กในร่างกาย
ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก
ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกน่วม
ช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุน
ช่วยป้องกันอาการกระดูกหักง่ายในวัยสูงอายุ
ช่วยเรื่องระบบประสาท โดยเฉพาะการส่งต่อสัญญาณประสาท ในโรคจากการขาดแคลเซียม
ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ เช่น ไลเปสจากตับอ่อน
ช่วยให้กระบวนการดูดซึมสารอาหารผ่านเยื่อบุเซลล์ที่ผนังลำไส้เล็กได้สะดวกขึ้น
ช่วยให้การดูดซึมวิตามินบี12 ที่ตอนปลายของลำไส้เล็กสะดวกขึ้น
ในกระแสเลือดจะมีส่วนช่วยในการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ เช่น
► ช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัวได้เป็นปกติ ที่สำคัญคือกล้ามเนื้อหัวใจ
► ช่วยในขบวนการทำให้เลือดแข็งตัว
► ช่วยในขบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรค
แคลเซียมเข้าสู่ร่างกายอย่างไร
สำหรับการทำงานของ แคลเซียม จะเริ่มจาก เมื่อร่างกายได้รับ แคลเซียม จากอาหาร ก็จะถูกกรดในกระเพาะทำให้ แคลเซียม แตกตัวได้ดีขึ้นและถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้นจากบริเวณลำไส้ส่วนต้น โดยอาศัย Calbindin-D ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะดูดซึม แคลเซียม ได้ประมาณร้อยละ 20-40 หลังจากนั้น แคลเซียม จะเข้าสู่เลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิตแล้วไปสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระดูก นอกนั้นเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะ
โดยปกติทั่วไปแม้กระดูกจะไม่ยืดตัวให้เห็น แต่จะมี แคลเซียม ผ่านเข้าออกจากกระดูกถึงวันละประมาณ 700 mg ซึ่งแม้ว่าเกลือแร่ที่ติดอยู่ในกระดูกดูเหมือนจะติดอยู่อย่างถาวร แต่อันที่จริงแล้ว แคลเซียม ในกระดูกจะถูกดึงออกพร้อมกับขบวนการละลายกระดูก (resorption) และเสริมเข้าไปพร้อมกับการสร้างกระดูกใหม่ (formation) อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นกับภาวะโภชนาการ ปริมาณ แคลเซียม ความสมดุลของฮอร์โมนและวัย
โดยทั่วไปร่างกายจะพยายามอย่างเต็มที่ในการที่จะรักษาระดับ แคลเซียม ในเลือดให้ปกติเสมอเพื่อให้อวัยวะต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปกติ การที่ร่างกายได้รับ แคลเซียม ไม่พอเพียงต่อความพยายามรักษาระดับ แคลเซียม ให้ปกติ จึงต้องละลาย แคลเซียม จากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือด ทำให้ แคลเซียม ในกระดูกค่อยๆ ลดลง สุดท้าย แคลเซียม ลดลงจนไม่พอใช้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการสะสม แคลเซียม ของร่างกายมนุษย์นั้นเริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์มารดา โดยในแต่ละวัยร่างกายสามารถสะสมปริมาณ แคลเซียม ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้
► เด็กแรกเกิด - 9 ขวบ มีความสามรถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
► เด็กอายุ 10 ขวบ มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100-150 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
► ช่วงวัยรุ่น มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 200-400 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
► ชายและหญิงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 50-100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน
► ผู้ใหญ่อายุ 30 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 0 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน ซึ่งหมายความว่า หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป จึงต้องมีการเติม แคลเซียม ให้ร่างกายเพื่อรักษาระดับ แคลเซียม ในกระดูก
คนแก่อย่างผมอ่านแล้วอย่าตกใจครับ มาต่อกันครับ
ผมแนะนำปริมาณของ แคลเซียม ที่เหมาะสมในแต่ละวัย ดังนี้ครับ
► เด็ก (1-10 ปี) ควรได้รับ 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
► วัยรุ่น (11-25 ปี) ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
► ผู้ใหญ่ ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
► หญิงมีครรภ์ ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
► หญิงให้นมบุตร ควรได้รับ 1,500 – 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
► ผู้ป่วยกระดูกหัก กระดูกเสื่อม ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
แล้วอะไรทำให้ร่างกายเสียแคลเซียมบ้าง ตามมาครับ
1 กาแฟ ร่างกายสูญเสียแคลเซียมและแม็กนีเซียมในการขับคาเฟอีน
2 เหล้า ร่างกายสูญเสียแคลเซียมและแม็กนีเซียมในการขับแอลกอฮอล์
3 เนื้อ นม ไข่ โปรตีนถูกเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียซึ่งมันจะไปยับยั้งการดูดกลับแคลเซียมที่ไต
4 เค็ม ทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะ
5 หวาน ทำให้เลือดเป็นกรด ร่างกายใช้แคลเซียมปรับสภาพความเป็นกรด
6 น้ำอัดลม ไอ้นี่สองเด้งเลย มันมีทั้งหวานและฟอสฟอรัส ร่างกายต้องใช้แคลเซียมปรับ ฟอสฟอรัส
7 ยาลดกรดในกระเพาะ
8 ไม่ออกกำลังกาย
9 ไม่โดนแดด การโดนแดดผิวจะสร้าง วิตามินดี แล้วเจ้าตัวนี้ก็นำแคลเซียมเข้ากระดูก
ปริมาณแคลเซียมที่ดูดซึมในร่างกายควบคุมโดย
-.วิตามินดี เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน เราได้วิตามินจากแสงแดดและอาหาร รังสีอุลตร้าไวโอเลตจะเปลี่ยนเป็นไขมันใต้ผิวหนังให้กลายเป็นวิตามินดี จากนั้นร่างกายจึงหมุนเวียนเอาวิตามินดีจากผิวหนังไปใช้
บทบาทของวิตามินดี คือ
- เพิ่มการดูดซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากผนังลำไส้ ให้ทำหน้าที่จับแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย
- ช่วยในการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนพาราไทรอยด์ เพิ่มการสลายแคลเซียมจากกระดูกให้เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อลำเลียงแคลเซียมไปให้กับเซลล์ทั่วร่างกาย
2.ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) ต่อมนี้จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน พาราไทรอยด์(Parathyroid hormone; PTH) เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทเหมือนแคลเซียมในเลือดต่ำลง ฮอร์โมนนี้จะเพิ่มการเปลี่ยนแปลงวิตามินดีธรรมดาให้กลายเป็นวิตามินดี1, 25 ไดไฮดรอกซีโคลีน แคลซิเฟอรอล ซึ่งพร้อมที่จะทำงานได้ทันที นับเป็นการเพิ่มแคลเซียมในเลือดได้ทันท่วงที ก่อนที่แคลเซียมต่ำจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อแคลเซียมในเลือดมีระดับสูงขึ้นมันจะไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนแคลซิโตนิน ซึ่งฮอร์โมนตัวหลังนี้จะไปหยุดยั้งการสร้างฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ระดับแคลเซียมในเลือดก็จะอยู่ตัวในระดับที่ร่างกายต้องการ และเมื่อใดที่ระดับแคลเซียมลดลง วงจรการทำงานของวิตามินและฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ก็จะเริ่มต้นอีกครั้ง
3.กรดอะมิโนบางตัวและความเป็นกรดของกระเพาะอาหาร มีส่วนช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น เรารู้ว่าแคลเซียมถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้ในรูปของประจุแล้วถูกลำเลียงเข้าสู่เซลล์ผนังลำไส้โดยจับกับโปรตีนตัวหนึ่ง แต่แคลเซียมในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป มักจะเป็นแคลเซียมที่อยู่ในรูปที่ไม่ละลายน้ำ ดังนั้นก่อนการดูดซึมแคลเซียมจะต้องถูกทำให้อยู่ในรูปของประจุเสียก่อน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของกรดในกระเพาะอาหาร เมื่อแคลเซียมกลายเป็นประจุแคลเซียมแล้วมันจึงจะถูกลำไส้เล็กส่วนต้นดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้ต่อไป และ
น่าเสียใจที่พออายุมากขึ้นความเป็นกรดในกระเพาะอาหารก็เริ่มลดลงตามไปด้วยครับ
ผมชอบประโยคนี้มากครับ เขียนได้สวยงามจริง ๆ
Although minerals are essential for all aspects of health, they tend to be poorly absorbed. แปลว่า แม้ว่าแร่ธาตุมีความจำเป็นสำหรับสุขภาพในทุกด้าน พวกมันมีแนวโน้มที่จะดูดซึมได้ไม่ดี
ทำไมครับ
นี่ครับ“ไฟเตท” เป็นสารลดการดูดซึมแร่ธาตุในร่างกายของท่าน
“ไฟเตท” เป็นชื่อขององค์ประกอบทางเคมีชนิดหนึ่งของพืช ซึ่งดึงมาจากใบและรากของพืชในระหว่างที่มีการเจริญเติบโตพบมากที่เมล็ดพืช โดยเฉพาะพืชในตระกูลถั่ว ธัญพืช และพืชที่ให้น้ำมันจะมีการสะสมไฟเตทมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุต่างๆ รวมทั้งฟอสฟอรัสด้วย เพื่อจะนำแร่ธาตุเหล่านี้มาใช้ในการงอกของเมล็ด รวมทั้งการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อรา และสร้างสารอะฟลาท็อกซินขึ้นมาได้
แล้วไฟเตทมีคุณสมบัติอย่างไร ตามมาครับ
ไฟเตทเป็นส่วนประกอบปกติของเนื้อเยื่อพืช อาจจะอยู่ในรูปของไฟเตท หรือไนตริกแอซิด หรืออาจรวมตัวกับโปรตีน และเมื่อแตกตัวแล้วสามารถจับตัวกับสารที่มีประจุบวกได้ดี เช่น แร่ธาตุเหล็ก แร่ธาตุสังกะสี แร่ธาตุทองแดง แร่ธาตุแคลเซียม เป็นต้น ในร่างกายของคนเราและสัตว์ที่มีกระเพาะเดียวไม่สามารถย่อยสลายไฟเตทได้ เพราะไม่มีเอนไซม์ที่ชื่อไฟเตรสภายในทางเดินอาหารครับ
แหล่งที่พบไฟเตท
แหล่งที่เราจะพบไฟเตทได้ดี คือ ในพืชผักนั่นเอง ซึ่งสามารถแบ่งแหล่งของพืชที่จะพบได้เป็น 3 ระดับ ครับ
- พืชที่มีไฟเตทสูง ได้แก่ พืชที่ให้น้ำมัน เช่น งา พืชตระกูลถั่วต่างๆ กลุ่มพืชที่กินใบอ่อน เช่น ยอดผักติ้ว ยอดผักหวาน ยอดใบแค
- พืชที่มีไฟเตทปานกลาง คือ พวกธัญพืช พืชที่กินดอกหรือผล เช่น มันฝรั่ง มะระ มะละกอดิบ บร็อกโคลี
- พืชที่ไฟเตทต่ำ ได้แก่ แครอด หัวผักกาด หัวหอม เห็ด ผักขม ผักบุ้งแดง ตำลึง ผักกาดหอม ใบตั้งโอ๋ หน่อไม้ฝรั่ง
อย่างไรก็ดี ปริมาณของไฟเตทจะขึ้นลงตามสภาพของดินว่าใส่ปุ๋ยฟอสเฟตลงไปในดินมากน้อยเพียงใด ปุ๋ยฟอสเฟตที่ชาวสวนใส่นั้นมีจุดประสงค์เพื่อต้องการเพิ่มผลผลิตของพืช และส่งผลทำให้มีปริมาณไฟเตทสูงในพืชตามมา อย่าเพิ่งตกใจครับและห้ามคิดว่าต่อไปจะกินอะไรล่ะเนี่ย
ไฟเตทกับภาวะโภชนาการ
เนื่องจากไฟเตท มีคุณสมบัติในการจับกับสารประจุบวกได้ดี เช่น เหล็ก แคลเซียม สังกะสี ฯลฯ ดังนั้น การได้รับไฟเตทในปริมาณมากจะส่งผลกระทบต่อการดูดซึมและการนำไปใช้ของสารอาหารจำพวกแร่ธาตุในร่างกายของคนเรา ถึงกระนั้นก็ตาม การทำลายไฟเตทค่อนข้างเป็นไปได้ยาก แม้แต่ความร้อนที่ใช้ในการหุงต้มในครัวเรือน ก็ทำให้ไฟเตทสูญเสียไปน้อยมาก แต่วิธีที่ทำได้ดีที่สุด จำกันไว้ให้ดีครับ คือ การคั่วและการทอด ซึ่งให้ผลดีกว่าการต้ม นึ่ง และลวก ในผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติ ซึ่งเป็นอาหารที่เน้นหนักในเรื่องของพืชผัก จะบริโภคไฟเตทสูงถึง 4 เท่าตัว อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อกำหนดแน่นอนถึงปริมาณไฟเตทที่ควรจะได้รับต่อวัน
แร่ธาตุแคลเซียม ถ้าได้รับไฟเตทมากๆ อาจทำให้แคลเซียมละลายออกมาจากกระดูกได้ โดยการประมาณพบว่า ไฟเตท 80 มิลลิกรัม จะสามารถจับกับแคลเซียมได้มากถ้ามีแคลเซียมน้อยกว่า 229 มิลลิกรัม และทำให้แคลเซียมละลายออกจากกระดูก จนเกิดโรคกระดูกพรุนได้ในที่สุด นอกจากตัวอย่างของแร่ธาตุที่ยกมากล่าวนี้แล้ว ไฟเตทยังมีผลต่อแร่ธาตุตัวอื่นด้วย เช่น แมกนีเซียม ทองแดง และสังกะสี
อย่างไรก็ตาม การลดการดูดซึมของแร่ธาตุไม่ได้มีสาเหตุจากไฟเตทเพียงอย่างเดียว ยังมีสารต้านโภชนาการชนิดอื่นอีกที่มีผลต่อแร่ธาตุ เช่น ใยอาหาร แทนนิน ออกซาเลด หรือกรดชาลิกที่มีมากในพืชบางชนิด เช่น ผักโขมเทศ ผักโขม ใบชะพลู การที่จะหลีกเลี่ยงไม่บริโภคสารต้านโภชนาการเหล่านี้อาจพบว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นการเลือกกินอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมดูจะเป็นวิธีแก้ไขได้ง่ายโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่กำลังเจริญเติบโต รวมทั้งสตรีมีครรภ์ซึ่งต้องการปริมาณสารอาหารมากกว่าคนทั่วๆ ไป
ตัวอื่นๆ ทียับยั้งครับ
1.ฟอสฟอรัสในอาหารที่มากกว่าปกติอาจยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมได้
2.อาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น พืชผักมักมีเกลือออกซาเลตและเกลือไฟเตตอยู่มาก ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงไป และใยอาหารยังมีกรดยูโรนิก (Uronic acid) ซึ่งสามารถรวมตัวกับแคลเซียมมีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงไปเช่นเดียวกัน
3.อาหารที่มีไขมันสูงทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง เนื่องจากแคลเซียมสามารถรวมตัวกับกรดไขมันได้เป็นเกลือของกรดไขมัน ทำให้ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้
แล้วถ้าขาดแคลเซียมล่ะ ก็ลองจินตนาการว่า หน้าที่ด้านบนของมันทำอะไร ถ้าขาดหน้าที่เหล่านั้นไม่สมบูรณ์ ร่างกายจะแสดงอาการตามนั้นครับ หนักสุดและที่ผมต้องรักษายากที่สุดก็เห็นจะเป็น หมอนรองกระดูกทับเส้น รองลงมาก็ พาร์กินสัน เพราะต้องใช้เวลาในการเติมแคลเซียมให้ร่างกายนานหน่อยกว่าจะสมดุล
แล้วมีโอกาสแคลเซียมเกินหรือไม่
มีครับในผู้ที่การขับออกไม่ดีจะเป็นดังนี้ครับ
ระบบทางเดิน
ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย อาจทำให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นผลให้การทำงานของไตเสื่อมลง และเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก เกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากมีการกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนแก๊สตรินเป็นผลให้กระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก เกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากมีการกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนแก๊สตรินเป็นผลให้กระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น
ระบบประสาท
ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง การหดรัดเกร็งตัวผิดปกติ ความจำลดลง มีอาการทางจิตเวช ในรายที่รุนแรงอาจพบอาการซึม ชัก หรือหมดสติได้
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้กล้ามเนื้อส่วนโคนแขนและขาอ่อนแรง ( proximal muscle weakness) มีอาการปวดกระดูก กระดูกบางในรายที่เป็นนานอาจเกิดโรคกระดูกพรุน หรือ กระดูกงอก
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้กล้ามเนื้อส่วนโคนแขนและขาอ่อนแรง ( proximal muscle weakness) มีอาการปวดกระดูก กระดูกบางในรายที่เป็นนานอาจเกิดโรคกระดูกพรุน หรือ กระดูกงอก
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจพบหินปูนที่ผนังหลอดเลือดหัวใจหรือปอด
ลักษณะทางคลินิกอื่นๆ ได้แก่ การมีผลึกของเกลือแคลเซียมจับที่เนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ที่ขอบของกระจกตา (band keratopathy) ที่เนื้อไต (nephrocalcinosis) ที่กระดูกอ่อนของข้อ (chondrocalcinosis) ที่สมองส่วน basal ganglia เป็นต้น
ลักษณะทางคลินิกอื่นๆ ได้แก่ การมีผลึกของเกลือแคลเซียมจับที่เนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ที่ขอบของกระจกตา (band keratopathy) ที่เนื้อไต (nephrocalcinosis) ที่กระดูกอ่อนของข้อ (chondrocalcinosis) ที่สมองส่วน basal ganglia เป็นต้น
คำเตือน
แคลเซียมทุกชนิดไม่ควรทานพร้อมยาประเภทอื่นเพราะทำให้การดูดซึมยานั้นๆน้อยลง และไม่ควรทานหลังอาหารที่มีผักมากๆ เนื่องจากทำให้การดูดซึมน้อยลงและอาจจับกับผักทำให้อืดแน่นท้อง และไม่ควรดื่มนม หรือนมถั่วเหลืองเมื่อทานแคลเซียมควรรับประทานอาหารที่มีความสมดุลย์ของโปรตีนเพื่อลดความเสี่ยงในการก่อให้เกิดภาวะนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
มาดูอีกตัวที่ต้องไปพร้อมกันเสมอครับ
แมกนีเซียม
แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ (Mineral) ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มเกลือแร่ที่มีมากในร่างกาย (Macronutrients หรือ Principal elements) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในโครงสร้างกระดูกมีธาตุ แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบประมาณ 25 กรัม หรืออาจมากกว่านี้ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ กล้ามเนื้อ สมองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ แมกนีเซียม ส่วนใหญ่ในร่างกาย (60-70%) พบในกระดูก ส่วนที่เหลืออีก 30% พบในเนื้อเยื่ออ่อนและของเหลวในร่างกาย แมกนีเซียม มักอยู่ในของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ (Intracellular fluid) เช่นเดียวกับโพแทสเซียม ประมาณร้อยละ 35 ของแมกนีเซียมในเลือดจะรวมอยู่กับโปรตีน เด็กแรกเกิดมี แมกนีเซียม ต่ำ และเมื่อโตขึ้นจะมี แมกนีเซียม มากขึ้น
แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ (Co-factor) ที่สำคัญของเอ็นไซม์ในร่างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆ ในร่างกาย และเป็นเกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจาก แคลเซียม หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็น โรคหัวใจ มากขึ้น แมกนีเซียม ยังทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น และมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างคือเป็นตัวช่วยในการสะสม แคลเซียม เข้ากระดูก และลดความรุนแรงของ โรคหัวใจ วายเรื้อรัง
แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มีน้อยคนมากๆ ที่จะได้รับ แมกนีเซียม อย่างเพียงพอต่อวันจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เนื่องจากอาหารที่ปรุงส่วนใหญ่จะมีแร่ธาตุนี้อยู่น้อย การรับยาบางชนิดก็ส่งผลให้เกิดขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม อีกทั้งโรคบางชนิดเช่น เบาหวาน โรคติดเหล้า ก็ส่งผลให้เกิดการขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม ได้เช่นกัน
หน้าที่และประโยชน์
1. มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญสารอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน
3. ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต้านทานความหนาว ในที่อากาศเย็น ความต้องการแมกนีเซียมจะสูงขึ้น
4. จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูกและฟัน
5. สำคัญในการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ของวิตามิน บี ซี และ อี
6. จำเป็นสำหรับการเผาผลาญแคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม
7. อาจป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจ โดยจะไปลดความดันเลือดลง และป้องกันการเกาะของโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
8. ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย
9. อาจทำหน้าที่เป็นตัวยาสงบประสาทตามธรรมชาติ ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน และลดความถี่ในการเกิดได้ ลดอาการซึมเศร้า และช่วยให้นอนหลับโดยเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน
10.ป้องกันไม่ให้ แคลเซียม จับตัวอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ไต
11.จำเป็นต่อการรวมตัวของ parathyroid hormone ซึ่งมีบทบาทในการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูก
12.ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
13.ลดอาการปวดเค้นหน้าอกในผู้ป่วย โรคหัวใจ
14.ป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
15.บรรเทาและป้องกัน อาการปวดประจำเดือนโดยการคลายกล้ามเนื้อมดลูก
16.การรับประทา นแมกนีเซียม จะช่วยลดการเกิดตะคริวในหญิงมีครรภ์ที่มีระดับของ แมกนีเซียม ต่ำได้
17.ช่วยป้องกันการเกิดอาการ ไมเกรน คนที่มีปัญหาโรค ไมเกรน มักจะมีปริมาณ แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ
18.ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด
แคลเซียม vs. แมกนีเซียม
หน้าที่ของ แมกนีเซียม ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเป็นตะคริว คือ แมกนีเซียม มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวหลังจากการหดตัว การที่กล้ามเนื้อหดตัวเป็นผลมาจาก แคลเซียม เข้าไปอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อ เนื่องจากมีความเครียดเข้ามากระตุ้น และตัวที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของ แคลเซียม นี้ก็คือ แมกนีเซียม เมื่อ แมกนีเซียมไม่พอ แคลเซียม จะไหลเข้าไปในเซลล์กล้ามเนื้อมากเกินไป จนเป็นเหตุให้การหดตัวของกล้ามเนื้อไม่ปกติ เกิดอาการสั่น ถ้าขาดมากๆ กล้ามเนื้อจะหดเกร็งอย่างรุนแรง และเป็นตะคริวได้ ด้านอารมณ์จะรู้สึกหงุดหงิด สับสน ตื่นเต้นง่าย
หากผนังหลอดเลือดเกิดเป็นตะคริว ( มีด้วยเหรอไม่เคยได้ยิน) จะทำให้เกิดโรคหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจแข็งตัว เป็นต้น แมกนีเซียมป้องกันแคลเซียมจับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือดจึงป้องกันอาการหลอดเลือดแข็งตัว รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติครับ
ในโลกของแร่ธาตุตามธรรมชาติ แคลเซียม และ แมกนีเซียม ต้องทำหน้าที่ร่วมกันโดยจะแยกออกจากกันมิได้ จำไว้ให้แม่นครับ
แคลเซียม ต่อ แมกนีเซียม
ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ 1 ปริมาณ แคลเซียม ที่ได้รับต่อวัน
ผลของการรับประทาน แมกนีเซียม ไม่เพียงพอ
จากการทดลองกับสัตว์ในหลายงานวิจัยพบว่า ถ้าให้อาหารที่มี แมกนีเซียม ต่ำเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อ ไต หัวใจ และหลอดเลือด คนสูงอายุที่กินอาหารไม่มีแมกนีเซียมนาน 100 วันขึ้นไป มักแสดงอาการผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร และการทำงานของระบบประสาท อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบปัญหาการขาดแมกนีเซียมในคนปกติ ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีน และคนไข้ที่อดอาหารเป็นเวลานานหลังการผ่าตัดอาจมีอาการขาด แมกนีเซียม ได้ คนพวกนี้มักมี แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ และมีอาการชักคล้ายการขาด แคลเซียม (แคลเซียม ในเลือดมักต่ำด้วย)
การขาด แมกนีเซียม จะมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายต่ำลง ระบบกล้ามเนื้อและระบบการย่อยอาหารจะทำงานผิดปกติ ระบบประสาทจะถูกทำลาย และประสาทรับรู้อาการเจ็บปวดจะไวขึ้น กระดูกอ่อนจนร่างกายรับน้ำหนักไม่ไหว และร่ายกายจะสร้างโปรตีนทดแทนไม่ได้ตามปกติ นอกจากนี้การขาด แมกนีเซียม จะทำให้ร่างกายเก็บสะสมพลังงานไว้ไม่ได้ สังเคราะห์ฮอร์โมนเพศไม่ได้ เลือดแข็งตัวช้า
สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม
ความเครียดทำให้ แมกนีเซียม ถูกใช้มากขึ้นหลายเท่า อย่าเครียดกันนะครับ
เนื้อและอาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง น้ำอัดลม ล้วนแต่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสมากซึ่งจะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
การใช้ยาขับปัสสาวะก็มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน รวมทั้งผู้ที่เป็นโรค เบาหวาน มีโอกาสขาด แมกนีเซียม ได้ง่าย
แล้วถ้ามีแมกนีเซียมมากเกินไปล่ะ
ขณะนี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับโทษของการรับประทาน แมกนีเซียม มากไป มีผู้รายงานว่าอาหารที่มี แมกนีเซียม สูงอาจช่วยป้องกัน โรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบได้
ในกรณีปกติหากได้รับ แมกนีเซียม มากเกินไป ไตจะทำการขับออกนอกร่างกาย แต่ในคนที่เป็นโรคไต แมกนีเซียม ที่มากเกินไปอาจไม่ถูกขับออกมาอย่างพอเพียง จึงทำให้เกิดอาการเป็นพิษ คือ ท้องร่วง และอัตราส่วนของ แคลเซียม-แมกนีเซียม ไม่สมดุล เป็นผลให้เกิดการซึมเศร้าเนื่องจากระบบประสาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น