วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เอนไซม์ (Enzyme) 

30 Jul 2014

Enzymology เป็นวิชาหนึ่งที่เป็นสาขาของ ชีวเคมี ที่ว่าด้วย เอ็นไซม์ ซึ่งได้เปลี่ยน ประโยคที่ว่า You are what you eat.เป็น You are what you absorbed.ซึ่งคนที่เรียนสาขานี้ ในอีก 20 ปีข้างหน้า จะเป็นผู้กำหนดสุขภาพของคนในประเทศนี้แทนหมอ เนื่องจาก วิธีการรักษาผู้ป่วยจะเปลี่ยนไปราวอีก20 ปี นี่ของเมืองไทยนะจากการคาดเดาของตัวผมเอง แต่ถ้าระบบสาธารณะสุขไทยเปิดกว้างอย่างประเทศที่เขารักและใส่ใจต่อสุขภาพของพลเมืองโดยปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อนแล้ว อาจเร็วกว่านี้ครับเพราะตอนนี้ ญี่ปุ่น เปลี่ยนแล้ว ราว 50% ประเทศทางตะวันตก ก็ทยอยสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความคิดที่ว่า สารเคมีทุกชนิดเป็น อันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ และร่างกายต้องการเพียงสารอาหารเพื่อให้มันทำงานอย่างสมบูรณ์ ส่วนการแพทย์ที่เป็นอยู่จะทำหน้าที่ในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่มีการพัฒนาตลอดเวลาเช่นกัน ถ้าท่านได้คุยกับผู้ป่วยอยู่บ้างจะเห็นว่า ยา ไม่ทำให้ผู้ป่วยทีเป็นโรคอันไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคทุเลาเบาบางลงสักเท่าไหร่ อาทิ เบาหวาน ความดัน ไขมัน เป็นต้น แต่กลับส่งผลกระทบต่อการทำงานในระบบอื่นๆของร่างกายเพิ่มขึ้นจากการตกค้างของยาในไต เป็นต้นและสิ่งหนึ่งที่ต้องศึกษาเป็นอันดับแรกของทั้งนักเรียนแพทย์และ Enzymology คือ ระบบร่างกาย และระบบร่างกาย ที่ต้องเรียนก่อนใคร คือ ระบบการย่อย( Digestion) หลังจากได้ทำการศึกษามานาน จึงอยากพาแฟนรายการ “ หมอนอกกะลา”มารู้จักกับ ระบบการย่อย( Digestion) ซึ่งมีผู้คนเป็นจำนวนมากยังเข้าใจผิดอยู่ว่า ถ้าถ่ายท้องดี ก็แสดงว่าการย่อยดี มันคนละระบบครับ อันนั้นมันระบบขับถ่ายครับ เอาเป็นว่า ถ้า ระบบการย่อย( Digestion) ดี ตั้งแต่เริ่ม ความเจ็บไข้ได้ป่วย ของคนทั่วโลก จะเบาบางลง เมื่อคุณ ไม่ใส่สิ่งที่ไม่เหมาะสมให้กับร่างกาย
การย่อยอาหารของคน
การย่อยอาหาร (Digestion) คือ กระบวนการแปรสภาพสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อการดูดซึมเข้าสู่เซลล์
อวัยวะช่วยย่อยอาหาร
การย่อยอาหารในคนนอกจากมีอวัยวะที่เป็นทางเดินอาหารแล้ว ยังมีอวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการช่วยย่อยอาหารโดยเฉพาะในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก เนื่องจากอวัยวะต่างๆที่ได้กล่าวมานั้นไม่สามารถที่จะย่อยสารอาหารบางชนิดได้ทำให้ต้องมีอวัยวะช่วยย่อยอาหาร ในการย่อยสารอาหารบางชนิดได้แก่ตับและตับอ่อน
ตับ เป็นอวัยวะซึ่งมีต่อมที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย อยู่ช่องท้องใต้กระบังลม ทำหน้าที่สร้างน้ำดี แล้วนำไปเก็บสะสมไว้ในถุงน้ำดี
1. ตับมีหน้าที่โดยสรุปดังนี้
1. สร้างน้ำดีในการช่วยให้ไขมันแตกตัว ทำให้น้ำย่อยไขมันสามารถย่อยไขมันได้ดีในลำไส้เล็ก
2. ทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ
3. สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงในระยะเอ็มบริโอ
4. ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
5. สลายกรดอะมิโนให้เป็นยูเรีย
6. ศูนย์กลางเมแทบอลิซึมอาหารที่ให้พลังงานได้
7. สะสมไกลโคเจนซึ่งเป็นน้ำตาลจากเลือดสะสมไว้ในตับ
8. ทำลายจุลินทรีย์โดยมี kupffer’ s cell ทำหน้าที่ทำลายจุลินทรีย์
9. คุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้เกิน 0.1 %
2. ตับอ่อน ช่วงแรกเรียกว่า ท่อแพนครีเอติค ( pancreatic duct) ช่วงหลังเรียกว่าท่อจากตับอ่อน ( hepato pancreaticduct) หน้าที่ของตับอ่อนสรุปได้ดังนี้
1. มีต่อมสร้างน้ำย่อยหลายชนิดส่งให้ลำไส้เล็กทำหน้าที่ย่อย แป้ง โปรตีนและไขมัน
2. มีต่อมไร้ท่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
3. สร้างสารที่เป็นด่างกระตุ้นให้น้ำย่อยในลำไส้เล็กทำงานได้ดี โดยเฉพาะเอนไซม์
การย่อยอาหารมี 2 วิธี คือ
1. การบดให้ละเอียด (Mechanical digestion) โดยใช้ฟันบดเคี้ยวหรือการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เป็นจังหวะเรียกว่าเพอริสทัลซีส (Peristalsis)ติดต่อกันเป็นลูกคลื่น เรียกว่าเพอริสทัลซีส
2. การให้เอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive enzyme) เป็นกระบวนการทางเคมี (Chemical digestion)
เป็นการย่อยที่ต้องใช้เอนไซม์จากต่อมต่าง ๆ ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร เป็นชนิดที่ทำปฏิกิริยาร่วมกับน้ำ จึงเรียกเอนไซม์พวกนี้ว่าไฮโดรเลส (Hydrolase)
เอนไซม์ (Enzyme) คือสารอินทรีย์พวกโปรตีน ซึ่งสิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นภายในสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
1. Carbohydase เอนไซม์ที่ย่อยสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต
.2. Protease เอนไซม์ที่ย่อยสารอาหารโปรตีนโดยเอนไซม์พวกProtease จนได้กรดอะมิโน
3. Lipase เอนไซม์ที่ย่อยสารอาหารพวกไขมัน
แค่นี้ก่อนนะครับ ประเดี๋ยวจะเบื่อกันเสียก่อน แต่ถ้าใครสนใจ ก็ค้นคว้าเอาได้ครับ วันนี้ ขออำลาเพียงเท่านี้ ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น