ผมทราบมานานแล้วครับว่าโรคเบาหวานรักษาให้หายขาดได้ แต่ไม่นึกว่าจะมีคนมาขอคำปรึกษา ผมเข้าใจว่าที่เขารักษากันอยู่ในปัจจุบันนั้นหายภายใน 7 เดือนอย่างที่ผมเข้าใจ ก็เห็นคนแถวบ้าน เขาไปกันทุกวันพุธ บอกผมว่าหมอเบาหวานนัด ผมก็เฉยๆ พอมาเก็บข้อมูลเข้าจริงๆเขาบอกว่ามันไม่หายต้องกินยาไปตลอดชีวิต เลยขอดูยา จากหลาย ๆ ท่านที่ไปเอายาฟรี มาทานกัน และศึกษายาหลักในคลังแห่งชาติของหลายโรงพยาบาล ก็ถึงบางอ้อครับ ตลอดชีวิตแน่นอนครับ มีโรคแทรกซ้อนด้วยครับ วันนี้มาเข้าใจกันให้ลึกซึ้งถึงแก่นในกันเลยครับ
ความรู้เบื้องต้นครับ
เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
อินซูลิน กับ เบาหวาน
อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มเซลล์ภายในตับอ่อน มีหน้าที่ในการนำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างพลังงานและสร้างเซลล์ต่างๆ โดยปรกติแล้วเมื่อมีน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดตับอ่อนก็จะถูกกระตุ้นให้หลั่ง อินซูลิน แล้วอินซูลินก็จะเข้าจับน้ำตาลเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งร่างกายมี อินซูลิน ไม่เพียงพอก็จะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ประเภทของ เบาหวาน
เบาหวาน สามารถแบ่งออกได้เป็น2ชนิด ได้แก่
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน หรือสร้างได้น้อยมาก ดังที่เรียกว่า โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน(autoimmune)
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม อาหารที่เราๆ ท่านๆ ทานกันอยู่นี่แหละครับ และงายวิจัยส่วนใหญ่ก็บอกว่ามาจากความหวานและการทานอาหารไม่ตรงเวลาแทบทั้งสิ้น
นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว โดยอาจจะใช้ยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
นอกจากนี้ เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด
นอกจากนี้ เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด
อาการเบื้องต้นของ เบาหวาน
ผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นคือ
1. ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตุจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน
2. ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น
3. กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง
4. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
5. เบื่ออาหาร
6. น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน
7. ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตุได้
จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก
จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก
8. สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน
9. อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง
10. อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต
โดย เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย
อาการแทรกซ้อนของ โรคเบาหวาน
มักจะเกิดเมื่อเป็น เบาหวาน อย่างน้อย 5 ปีแล้วไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง
• ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มาตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง ตาหรือจอตาเสื่อม หรือมองเห็นจุดดำลอยไปมา และอาจจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
• ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)ไตมักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการ
• ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy) เบาหวาน จะทำให้หลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เช่นรู้สึกชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด ในผู้ชายอาจมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(impotence)
• โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease) เบาหวาน เป็นตัวการที่จะเร่งให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายและเมื่อหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพจาก เบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด แต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในผู้ป่วย เบาหวาน บางราย กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานน้อยกว่าปกติ คือ มีการบีบตัวน้อยกว่าปกติอันเนื่องมาจาก เส้นเลือดฝอยเล็กๆที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจาก เบาหวาน ซึ่งจะทำการรักษาได้ยาก การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของผู้เป็น เบาหวาน คือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติซึ่งจะบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่นอาการเจ็บหน้าอก อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป ดังนั้นผู้เป็น เบาหวาน บางรายอาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
• โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease) ผู้เป็น เบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะ เบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกายและถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมอง ก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ 2-4 เท่า โดยจะมีอาการเบื้องต้นสังเกตุได้จาก กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใดหรือเป็นครั้งคราว ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ กลืนอาหารแล้วสำลักบ่อยๆ มีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรงโดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด หรือมีอารมณ์รุนแรง
• โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)
• แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)
สิ่งที่ตรวจพบเมื่อเป็น เบาหวาน
เบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในคนที่ มีรูปร่างซูบผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อลีบฝ่อ
เบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีรูปร่างอ้วน บางรายตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติตามร่างกาย
เบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีรูปร่างอ้วน บางรายตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติตามร่างกาย
การตรวจปัสสาวะมักจะพบน้ำตาลในปัสสาวะขนาดมากกว่าหนึ่งบวกขึ้นไป
การตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6 ชั่วโมง (fasting plasma glucose/FPG) มักพบว่ามีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร
การตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6 ชั่วโมง (fasting plasma glucose/FPG) มักพบว่ามีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร
ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทครับ
1. เสริมการออกฤทธิ์ของอินซูลิน Agents Enhancing the Effectiveness of Insulin ยาในกลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำยาในกลุ่มนี้ได้แก่
• Metformin
• Troglitazone
• Acarbose
2. ยาเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน Agents Augmentating the supply of Insulin ยาในกลุ่มนี้เพิ่มการหลั่งของอินซูลิน ได้แก่
• Sulfonylurea
• Repaglinide
• Insulin
• Sitagliptin
• Metformin
• Troglitazone
• Acarbose
2. ยาเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน Agents Augmentating the supply of Insulin ยาในกลุ่มนี้เพิ่มการหลั่งของอินซูลิน ได้แก่
• Sulfonylurea
• Repaglinide
• Insulin
• Sitagliptin
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ใช้ยาดังนี้
• ผู้ป่วยที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา metformin แนะให้ใช้ยาชนิดนี้เป็นยาชนิดแรก
• ปรับยาเพื่อให้ได้ค่าน้ำตาลเฉลี่ยได้ตามเป้าหมายใน 3-6 เดือน หากไม่ได้เป้าหมายและใช้ยาเต็มที่แล้วให้เพิ่มยาชนิดที่ 2
• ยาชนิดที่ 2 ที่ให้ใช้คือ glucagon-like peptide-1 (GLP-1) และยารับประทานเบาหวานชนิดอื่น
• หากผู้ป่วยที่เป็นใหม่ และมีน้ำตาลสูงและมีอาการมากแนะนำให้ใช้อินซูลินในการรักษาเบื้องต้น
• ถ้ายา เม็ดควบคุมไม่ได้ก็ต้องใช้การฉีด
ผลข้างเคียงของยาเพื่อรักษาโรคเบาหวาน
อาจเกิด เป็นลมพิษ หายใจลำบาก บวมหน้า ปาก และคอ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์ที่จ่ายยาให้ท่าน
ส่วนยา Glibenclamide
ยานี้ลดน้ำตาลในเลือดโดยกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน
ยานี้ลดน้ำตาลในเลือดโดยกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน
ผลข้างเคียงของยา
ผลต่อระบบโลหิต
พบน้อยอาจจะรุนแรงเสียชีวิตได้ ผลข้างเคียงที่พบได้แก่ เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ โลหิตจาง ซึ่งจะมีอาการ จ้ำเลือด เลือดออกง่ายเช่นเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน เป็นหวัดง่าย
พบน้อยอาจจะรุนแรงเสียชีวิตได้ ผลข้างเคียงที่พบได้แก่ เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ โลหิตจาง ซึ่งจะมีอาการ จ้ำเลือด เลือดออกง่ายเช่นเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน เป็นหวัดง่าย
ผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
แพ้ยาทำให้เกิดอาการหอบหืด ริมฝีปาก คอ ลิ้นบวม
แพ้ยาทำให้เกิดอาการหอบหืด ริมฝีปาก คอ ลิ้นบวม
ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
• อาจจะทำให้เกิดภาวะโซเดี่ยมในเลือดต่ำ
• เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ Hypoglycaemia
• อาจจะทำให้เกิดภาวะโซเดี่ยมในเลือดต่ำ
• เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ Hypoglycaemia
ผลต่อการมองเห็น
การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลอย่างรวดเร็วอาจจะทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว
การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลอย่างรวดเร็วอาจจะทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว
ผลต่อระบบทางเดินอาหาร
อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน รู้สึกจุกเสียดแน่นท้อง อาจจะท้องร่วง
อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน รู้สึกจุกเสียดแน่นท้อง อาจจะท้องร่วง
ผลต่อตับ
อาจจะทำให้เกิดตับอักเสบ เมื่อหยุดยาอาการจะดีขึ้น
อาจจะทำให้เกิดตับอักเสบ เมื่อหยุดยาอาการจะดีขึ้น
ผลต่อผิวหนัง
อาจจะเกิดแพ้ยาชนิดรุนแรง เช่น erythema multiforme, Stevens-Johnson syndrome, erythema nodosum and exfoliative dermatitis หรือที่รุนแรงน้อยได้แก่ ผื่นคัน แพ้แสงแดด
อาจจะเกิดแพ้ยาชนิดรุนแรง เช่น erythema multiforme, Stevens-Johnson syndrome, erythema nodosum and exfoliative dermatitis หรือที่รุนแรงน้อยได้แก่ ผื่นคัน แพ้แสงแดด
สิ่งที่ต้องระวังคือมิให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
• ผู้ป่วยสูงอายุ ขาดอาหาร หรือช่วยตัวเองไม่ได้กลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ
• ออกกำลังกายมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ
• ผู้ป่วยสูงอายุ ขาดอาหาร หรือช่วยตัวเองไม่ได้กลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ
• ออกกำลังกายมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ
• ผู้ป่วยที่ไตวายผู้ที่มีโรคต่อมหมวกไต การใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่น
ทำให้ยา Glibenclamide ออกฤทธิ์มากขึ้นซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
ยาที่เสริมฤทธิ์ได้แก่ ยารักษาโรคติดเชื้อ (เช่น: hloramphenicol, fluconazole, miconazole, sulphonamides ),ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID (เช่น.:phenylbutazone, salicylates),ยาต้านการแข็งตัวของเลือด warfarin ,ยาลดไขมัน (เช่น.clofibrate), ยาต้านซึมเศร้า(monoamine oxidase inhibitors, doxepin, nortriptyline), ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE-inhibitors เช่น captopril, enalapril,ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร H2- blockers, cimetidine, ranitidine,
ทำให้ยา Glibenclamide ออกฤทธิ์มากขึ้นซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
ยาที่เสริมฤทธิ์ได้แก่ ยารักษาโรคติดเชื้อ (เช่น: hloramphenicol, fluconazole, miconazole, sulphonamides ),ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID (เช่น.:phenylbutazone, salicylates),ยาต้านการแข็งตัวของเลือด warfarin ,ยาลดไขมัน (เช่น.clofibrate), ยาต้านซึมเศร้า(monoamine oxidase inhibitors, doxepin, nortriptyline), ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE-inhibitors เช่น captopril, enalapril,ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร H2- blockers, cimetidine, ranitidine,
เมื่อเกิดอาการข้างเคียงควรทำอย่างไร
• อาการข้างเคียงที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติมีดังนี้: ปวดศีรษะ เหงื่อแตก สั่น กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว อ่อนเพลีย ปากหรือลิ้นชา สับสน ตาพร่า หากมีอาการดังกล่าวควรดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำหวาน หรืออมลูกกวาดหรือน้ำตาล และปรึกษาแพทย์
• หากมีอาการจะเป็นลม ควรขอคนนำส่งแพทย์หรือโรงพยาบาลทันที
• หากมีอาการต่อไปนี้ ได้แก่ มีผื่นคันหรือแดง ผิวไหม้แดดผิดปกติ ตาหรือผิวมีสีเหลือง อุจจาระสีซีด ปัสสาวะสีเข้ม มีไข้ เจ็บคอ ควรพบแพทย์ทันที
• คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง
• ซีด อ่อนแรง สับสน มีจ้ำเลือด เลือดออกง่าย
• หากมีอาการจะเป็นลม ควรขอคนนำส่งแพทย์หรือโรงพยาบาลทันที
• หากมีอาการต่อไปนี้ ได้แก่ มีผื่นคันหรือแดง ผิวไหม้แดดผิดปกติ ตาหรือผิวมีสีเหลือง อุจจาระสีซีด ปัสสาวะสีเข้ม มีไข้ เจ็บคอ ควรพบแพทย์ทันที
• คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง
• ซีด อ่อนแรง สับสน มีจ้ำเลือด เลือดออกง่าย
จะเห็นได้ว่าทั้งหมดที่ใช้รักษาเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ผมเลยลองศึกษาของต่างประเทศบ้าง ปรากฏว่าในสหรัฐเองตอนนี้ผู้ป่วยราว 38 % หันมาใช้วิธีอื่น ๆ เช่นใช้สารสกัดจากพืชธรรมชาติในการบำบัด ในอังกฤษ เปลี่ยนวิธีรักษาราว 45 % แต่ในเอเซียประเทศที่ผมยอมคารวะ คือไต้หวัน แน่จริงๆครับ และผมจะเอาที่ไต้หวันและของดีของไทยมาฝากในตอนต่อไปครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น